Job search advice | 31 October 2016

7 เทคนิคเตรียมตัวสัมภาษณ์งาน ให้ได้งานชัวร์

คุณเสียเวลาคร่ำเคร่งกับเรื่อง Resume มานาน ทั้งนั่งเลือกสิ่งที่ควรใส่ และสิ่งที่ไม่ควรใช้ใน Resume ออก แล้วไหนจะร่างจดหมายสมัครงานหรือ CV ครั้งแล้ว ครั้งเล่า จนในที่สุดคุณก็ได้รับเชิญให้ไปสัมภาษณ์งานจนได้! และแล้วเวลาที่รอคอยก็มาถึงสักที กับการสัมภาษณ์งาน

WorkVenture รู้นะ ว่าคุณน่ะตื่นเต้น และก็แอบอ่านเคล็ดลับการสัมภาษณ์งานต่าง ๆ อยู่หลายวัน และดูเหมือนจะมีเคล็ดลับการสัมภาษณ์งานเยอะมากมาย จนคุณเลือกอ่านไม่ทัน แต่ WorkVenture จะขอแอบกระซิบว่าจริง ๆ แล้วมีสูตรเด็ดเคล็ดลับการสัมภาษณ์งานอยู่ 7 ข้อง่าย ๆ เพียงนำไปใช้ ได้งานชัวร์ ไปดูกันเลย

1. ศึกษาเกี่ยวกับบริษัทและธุรกิจของบริษัท

ยิ่งรู้มาก ยิ่งมีโอกาสได้งานเยอะ อาจเริ่มต้นด้วยการหาแนวโน้ม กระแส เทรนด์สมัยใหม่ และประเด็นที่เกี่ยวกับธุรกิจนั้น ๆ โดยลองหาบล็อก วารสารและสื่อโซเซียลมีเดียต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและสิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณดูดีคือ การล่าวถึงสถิติที่สำคัญสำหรับธุรกิจนั้น ๆ รับรองว่าสถิติพวกนี้จะทำให้ HR คิดว่าคุณมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจนั่น ๆในระดับเชี่ยวชาญ

ขั้นต่อมาคือการวางเป้าหมายที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับบริษัทให้มากขึ้น  ลองหาข้อมูลของบริษัทนั้น ๆ ย้อนหลังไปสัก 2-3 ปี หาประเด็นหรือเรื่องราวต่าง ๆ จากสื่อตีพิมพ์ของบริษัทและสื่อตีพิมพ์อื่น ๆ เช่น คุณจะไปสัมภาษณ์งานที่บริษัทมหาชน คุณอาจศึกษาสภาวะด้านการเงิน บันทึกรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้ร่วมลงทุนของบริษัทเพื่อทราบแนวทางการหารายได้ของบริษัทดังกล่าว ข้อมูลที่ได้มาจะช่วยคุณวางแผนการตอบคำถามลักษณะการใช้ความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ระหว่างการสัมภาษณ์  


2. ศึกษาผู้สัมภาษณ์งานของคุณ

หากรู้ว่าใครจะเป็นผู้สัมภาษณ์งาน ลองหาข้อมูลของพวกเขาทางอินเทอร์เน็ตดู และศึกษาประสบการณ์ด้านการทำงานและสิ่งที่พวกเขาพูดหรือให้สัมภาษณ์ในโซเซียลมีเดีย หรือลองดูนิสัย 3 แบบที่ HR ไม่ชอบ ก่อนสัมภาษณ์จริง

เพราะบางทีพวกเขาอาจมีความสนใจบางอย่างเป็นพิเศษที่บริษัทสามารถสานต่อได้ เช่น โครงการ CSR ของบริษัท ลองจดบันทึกและลองคิดว่าคุณจะแสดงออกอย่างไร เพื่อแสดงความกระตือรือร้นในสิ่งที่บริษัทต้องการทำเพื่อสังคม แต่ว่า อย่าใช้เสียงสูง ๆ แหลม ๆ เพื่อเรียกความสนใจเกินไปล่ะ

ถ้าคุณกับผู้สัมภาษณ์งานมีอัธยาศัยและสนใจสิ่งเดียวกัน เช่น อาจจะเคยทำงานกับนายจ้างคนเดียวกัน หรือมีความสนใจเล่นมวยปล้ำนิ้วโป้งเหมือนกัน คุณต้องใช้สิ่งที่สนใจร่วมกันนี้พูดคุยระหว่างการสัมภาษณ์ด้วย


3. เปิดฉากให้สวยงาม

หนึ่งในคำถามแรก ๆ ที่ผู้สัมภาษณ์มักจะเริ่มต้นคือคำถามปลายปิดจำพวก “ใช่ หรือ ไม่ใช่” อย่าให้โดนจับได้ว่า คุณใช้วิธีการมั่ว ๆ ตอบคำถามแบบส่ง ๆ ให้แค่จบไป

WorkVenture มีคำแนะนำจากคุณมาร์ลีน คาโรเซลลี นักเขียนบทความหนังสือและผู้ฝึกสอนด้านการพัฒนาองค์กรในเมือง Rochester รัฐ New York  เรื่อง “เตรียมความพร้อมสำหรับการพูดแนะนำตัวให้เรียบร้อย ในกรณีที่พวกเขาต้องการภาพรวมการทำงานโดยย่อของคุณ”

ดังนั้นควรฝึกพูดเกี่ยวกับประสบการณ์และความสำเร็จที่ผ่านมา รวมถึงความถนัดและความสามารถของตำแหน่งที่คุณกำลังทำงานอยู่ให้ชิน


4. หาจุดขายของคุณซะ

ตอนนี้ได้เวลาที่จะคิดถึงหัวใจของการสัมภาษณ์งานแล้ว นั่นคือคำถามเกี่ยวกับคุณสมบัติที่เหมาะสมกับงานและประสบการณ์ของคุณ

จำไว้ว่า จุดมุ่งหมายของการสัมภาษณ์งานคือ "การที่คุณสามารถสร้างความประทับใจด้านบวกให้บริษัทได้" คุณควรตอบระหว่างการสัมภาษณ์งานด้วยการเน้นย้ำจุดเด่นของคุณ

คุณบัมแกร์เนอร์ให้คำแนะนำว่า ควรฝึกตอบคำถามในคำถามที่คาดคะเนว่าจะถูกถาม และฝึกกล่าวถึงจุดแข็งของคุณ "คุณควรยกตัวอย่างในการตอบคำถามทุกข้อ โดยบอกว่า ตัวอย่างเช่น และเล่าเรื่องราวตอนที่คุณสามารถแสดงสิ่งที่เป็นความสามารถอันโดดเด่นของคุณ” คุณบัมแกร์เนอร์กล่าว "เลี่ยงการใช้คำตอบกลาง ๆ หรือคำตอบแนวไม่ชัดเจน"  ควรเน้นตัวอย่างการทำงานจากประสบการณ์จริงของคุณ นี่จะเป็นจุดหลักที่ทำให้คุณได้รับงานนั้นเอง


5. ปิดการสัมภาษณ์ให้สุดยอดไปเลย

โดยปกติในการสัมภาษณ์งาน ผู้สัมภาษณ์มักจะลงท้ายด้วยคำถามว่า "คุณมีอะไรที่ต้องการถามอีกไหม" อย่าปล่อยให้โอกาสนี้หลุดไปเด็ดขาด ถามคำถามสักบางข้อซะ คุณควรถามด้านวัฒนธรรมองค์กร และลักษณะงาน หรือคำถามอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย จำไว้ว่า คุณกำลังสัมภาษณ์บริษัทและบริษัทกำลังสัมภาษณ์คุณเช่นเดียวกัน

หลังจากคุณถามคำถามแล้ว "ปิดการสนทนาด้วยรอยยิ้ม การยกมือไหว้อย่างนอบน้อม และถ้อยคำด้านบวก" ที่ฟังแล้วสามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้สัมภาษณ์งาน เช่น  

“ดีใจที่ได้เจอคุณครับ ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับตำแหน่งงานนี้เยอะทีเดียว"

"งานนี้เหมือนจะสอดคล้องกับประสบการณ์การทำงานที่ผมเคยทำมา"

"ผมหวังว่าต่อไปจะได้พบคุณคราวหน้าอีกนะครับ”


6. อย่าลืมโชว์ความสามารถให้เต็มที่

ไม่มีอะไรดีกว่าการลองจำลองการสัมภาษณ์เอง ลองชวนเพื่อน ๆ มาช่วยซ้อมเป็น HR และถ้าเป็นไปได้ลองถ่ายวีดีโอขณะที่คุณจำลองการสัมภาษณ์งาน แต่ถ้าไม่มีโอกาสถ่ายวีดีโอ ลองใช้การอัดเสียงแทนหน้ากระจดแทนก็ได้ จากนั้นก็เปิดฟัง ทบทวนว่าเรามีข้อผิดพลาดตรงไหน

“ลองศึกษาภาษากายของตัวเอง ดูว่าภาษากายแสดงออกถึงความมั่นใจ  และความกระตือรือร้นของคุณเองหรือไม่”

และลองถามเพื่อนๆของคุณว่าท่าทาง น้ำเสียง สีหน้าของคุณดูตื่นเต้นหรือเปล่า คุณดูขี้โม้ไหม ลองถาม feedback ของพวกเขาดูและพัฒนาให้ดีขึ้น

7. เหนือสิ่งอื่นใด ทำให้ดีที่สุด!

เมื่อคุณเตรียมพร้อมมาอย่างดีแล้ว อย่าตกม้าตายตอนสุดท้ายล่ะ คุณจำเป็นต้องมี "สติ" ตลอดการสัมภาษณ์

เคล็ดลับคือ คุณอาจนึกภาพเหตุการณ์การสัมภาษณ์คร่าว ๆ ว่าคุณจะทำอะไรบ้าง อย่างเป็นลำดับขั้น หายใจลึกๆ  และบอกตัวเองว่า คุณทำการบ้านมาดีและพร้อมที่จะสร้างความประทับใจให้กับผู้สัมภาษณ์งาน


เป็นยังไงกันบ้าง กับเคล็ดลับ 7 ข้อสำหรับการสัมภาษณ์งานนี้ มันเป็นเคล็ดลับที่ไม่ได้ยาก เพียงแต่คุณต้องตั้งใจจริง ๆ นะ ซึ่งหากคุณทำได้ เราเชื่อว่าคุณต้องได้ตำแหน่งงานในฝันแน่นอน