Job search advice | 8 May 2017

5 เคล็ดลับในการเขียนถึงตำแหน่งน้อยๆ ของคุณใน Resume

สำหรับคนที่พึ่งจะทำงานใหม่ๆ ตำแหน่งงานของคุณก็จะไม่ได้มีอะไรหรูหราฟู่ฟ่า หรือสำคัญมากนัก และเวลาต้องเขียนลงไปใน resume คุณก็อาจจะอยากใส่ไข่ให้งานของคุณมันฟังดูอลังการมากกว่าที่เป็นอยู่ใช่มั้ยล่ะ? แต่อย่าเลย คำโกหกพวกนั้นจะไล่ตามคุณทันในตอนสัมภาษณ์งานอย่างแน่นอน และมันก็จะน่าอายมากๆ ด้วย ดังนั้น WorkVentureจึงหาเทคนิคดีๆ 5 ข้อมีช่วยคุณว่า จะเขียนถึงงานตำแหน่งน้อยๆ ของคุณให้ดูน่าสนใจอย่างไรดี

 

 

คุณช่วยให้บริษัทไปถึงเป้าหมายได้อย่างไร

พนักงานทุกคนก็ถูกจ้างมาด้วยเหตุผลที่ว่า ช่วยให้บริษัทหาเงินได้มากขึ้นใช่ไหมคะ ดังนั้น ไม่ว่างานของคุณคืออะไรก็ตาม มันก็ช่วยให้บริษัทไปถึงเป้าหมายที่เขาวางไว้ทั้งนั้นแหละ

 

 

สมมุติว่าคุณอยู่ฝ่ายบริการลูกค้า ในทุกๆ วันคุณก็ต้องคอยรับโทรศัพท์ ตอบคำถาม แก้ปัญหา และตามเรื่องที่ลูกค้าร้องเรียน มันอาจจะฟังดูไม่มีอะไรน่าสนใจมากนัก และก็ไม่ได้ดูช่วยให้บริษัทมีเงินมากขึ้นเท่าไหร่เลยนี่ แต่รู้ไหมคะว่า งานของคุณเนี่ย คือการทำให้ลูกค้าแฮปปี้ (และทำให้พวกเขาซื่อสัตย์ต่อแบรนด์) ซึ่งจะลดโอกาสที่พวกเขาจะเลิกซื้อ หรือเปลี่ยนใจไปซื้อแบรนด์คู่แข่งได้เลย

พอได้คำตอบแล้ว  ก็เขียนว่าเป็น bullet ว่า “สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าด้วยการให้ความช่วยเหลือผ่านโทรศัพท์ อีเมล และแชทอย่างอบอุ่นและเต็มใจ”

 

อธิบายถึงเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่เฉพาะเจาะจง

ทุกคนมีเรื่องราว มันอาจจะเป็นตอนที่ลูกค้าพอใจกับการช่วยเหลือของคุณมากจนส่งจดหมายมาขอบคุณเป็นการส่วนตัว หรือตอนที่หัวหน้าของคุณพอใจกับงานมากและไปบอกหัวหน้าของเขาอีกทีหนึ่งให้ตบรางวัลให้คุณ หรือตอนที่เพื่อนๆ ในแผนกเรียกคุณว่าเป็นคนที่มีน้ำใจมากที่สุดในออฟฟิศ

 

 

เรื่องราวแห่งความสำเร็จเหล่านี้สมควรที่จะมีพื้นที่ใน resume ของคุณค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณยังทำงานไม่นานนักและไม่ได้มีผลงานหรือรางวัลอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ดังนั้น ลองคิดถึงเรื่องเล็กๆ ที่เป็นสิ่งที่ประสบความสำเร็จ และเขียนมันลงไปใน resume ค่ะ

ถ้าคุณเป็น HR ก็อาจจะเขียนได้ว่า “เป็นคนดูแลเรื่องนักศึกษาฝึกงาน 2 คนที่พอเรียนจบแล้วก็เข้ามาทำงานกับบริษัทต่อ”

 

อธิบายถึงคนที่คุณร่วมงานด้วย

ไม่มีงานไหนต้องทำอย่างโดดเดี่ยว และตำแหน่งงานสตาร์ทสำหรับคนอายุน้อยๆ ก็มักจะได้ทำงานร่วมกับพนักงานในระดับเดียวกันอยู่แล้วล่ะ และมันก็โชคดีที่ คุณสามารถสาธยายไปว่าคุณมีทีมเวิร์คแค่ไหน

 

 

เริ่มจากการคิดว่าคุณต้องพึ่งใคร และใครต้องพึ่งคุณ จากนั้นก็เขียนอธิบายถึงความสัมพันธ์แต่ละคนออกมาเป็น bullet (ใช้ตำแหน่งงานแทนชื่อคนนะคะ)

เช่นถ้าคุณเป็น UX designer ก็อาจจะเขียนประมาณว่า “ทำงานร่วมกับ UI, visual และ motion designer, UX researcher, front-end developers, และ product manager เพื่อสร้างแอปพลิเคชั่นมือถือที่ดึงดูดและง่ายต่อการใช้งาน”

 

อธิบายว่าหัวหน้าคุณบอกว่าอย่างไร

หลายๆ คนไม่รู้ว่าคุณสามารถใช้คำชมหรือ feedback ดีๆ จากหัวหน้ามาใส่ใน resume ได้ แต่จริงๆ แล้วมันเป็นวิธีที่ดีเลยนะที่จะแสดงให้เห็นว่าคุณเป็นลูกน้องที่ดีแค่ไหน

หวังว่าคุณจะเก็บสิ่งดีๆ ที่หัวหน้าชมมาใส่ใน performance review นะคะ หรือถ้าไม่ได้เก็บหลักฐานอะไรไว้ก็ไม่เป็นไร หากระดาษมาแล้วเขียนคำชมที่คุณเคยจำได้ลงไป คุณอาจจะลองค้นอีเมลดูก็ได้

 

 

เช่น คุณเป็นเซลล์ และหัวหน้าก็มักจะชมว่าคุณสามารถสร้างคอนเนกชั่นกับลูกค้าคนไหนก็ได้ถึงแม้ว่าจะไม่เคยคุยกันมาก่อนเลยก็ตาม

และใน resume คุณก็อาจจะเขียนประมาณว่า “หัวหน้าชื่นชมว่ามีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าทุกคนซึ่งนำไปสู่ยอดขายที่สูงขึ้นและเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า

 

อธิบายงานของคุณโดยใช้ตัวเลข

คุณอาจจะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งสูงๆ ที่สามารถพูดได้ว่า “ช่วยบริษัทลดค่าใช้จ่ายได้เดือนละ 4,000 ด้วยการเปลี่ยนวิธีการออกบิลค่าใช้จ่ายแบบใหม่” หรือ “ลดจำนวนลูกค้าที่ยกเลิกผลิตภัณฑ์ได้มากถึง 20%” แต่คุณก็สามารถอธิบายถึงงานตำแหน่งน้อยๆ ของคุณแบบนี้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน

เช่น ถ้าคุณเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ คุณก็อาจจะเขียนถึงจำนวนบทความที่คุณตรวจเช็คหรือแก้ไขในแต่ละอาทิตย์

“ตรวจเช็คและแก้ไขบทความประมาณ 15 เรื่องในส่วนของสไตล์ เนื้อหา ความชัดเจนของภาษา และรูปแบบการพิมพ์”

 

 

หรือถ้าคุณเป็นผู้จัดการออฟฟิศ คุณก็อาจจะพูดได้ว่า “สนับสนุนวัฒนธรรมในการทำงานเป็นทีมอย่างแน่นแฟนด้วยการสร้าง วางแผน และจัดกิจกรรมของบริษัท 3 ครั้งต่อปี”

ถ้ายังนึกไม่ออกล่ะก็ ลองเขียนหน้าที่สำคัญๆ ของคุณออกมา แล้วก็ถามตัวเองว่า คุณทำมันมากเท่าไหร่ และเอาจำนวนลงมาเขียนค่ะ

 

เห็นไหมว่ามันมีตั้งหลายวิธีที่จะทำให้ตำแหน่งงานน้อยๆ เหล่านี้ฟังดูยิ่งใหญ่โดยที่ไม่ต้องไปโกหกอะไรเลยล่ะ

close
Join WorkVenture for the newest job offers and company reviews