Career advice | 5 September 2018

5 เรื่องการเงินที่ต้องรู้! ก่อนลาออก

เชื่อว่าคนทำงานที่ต้องเจอกับปัญหาที่เกิดขึ้นในออฟฟิศไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนน้อย หัวหน้าเจ้าอารมณ์ เพื่อนร่วมงานขี้แซะ ความคิดที่อยากจะหางานใหม่จึงผุดขึ้นมาเป็นระยะๆอย่างแน่นอน แต่จะหนีหายไปเลยดื้อๆ ก็คงไม่ได้ เพราะนอกจากจะถูกมองว่าไม่เป็นมืออาชีพด้านการทำงานแล้ว ก็ยังมีปัญหาเรื่องเงินๆ ทองๆ ตามมาอีก ดังนั้นมาคิดกันให้รอบคอบก่อนดีกว่าว่าก่อนลาออกเนี้ย มีเรื่องอะไรที่ต้องพิจารณาให้ดี ไม่อย่างนั้นอาจจะต้องเสียใจภายหลังได้นะ


1. เงินเดือนที่ใหม่ ถูกใจหรือยัง

เรื่องเงินเดือนเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ควรคิดให้รอบคอบว่างานใหม่นั้นเป็นตำแหน่งอะไร เงินเดือนที่ได้รับเหมาะสมกับตำแหน่ง ความรู้ ความสามารถหรือไม่ เพราะถ้าตกลงกันไม่ดีตั้งแต่แรกอาจจะมีผลกระทบอื่นๆตามมาได้ อย่างการขอขึ้นเงินเดือนทีหลังจากทำงานไปแล้ว ก็คงพูดยากกว่าตอนเรียกเงินเดือนแน่นอน ยิ่งในกรณีที่คุณทำงานมาสักระยะจนเริ่มมีประสบการณ์การทำงานมาบ้างแล้ว ก็ควรที่จะรวบรวมมาใส่ในพอร์ตเพื่อแสดงให้นายจ้างเห็นว่าคุณเหมาะสมกับเงินเดือนตามที่จะเรียก


2. สังคมใหม่ เป็นยังไง

ก่อนจะไปเริ่มต้นทำงานใหม่ที่ไหน ควรดูให้ดีก่อนกว่าบรรยากาศการทำงานที่นั่นเป็นอย่างไร คนที่ทำงานที่นั่นพูดเกี่ยวกับบริษัทอย่างไรบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถดูได้จากตอนที่ไปสัมภาษณ์ ก็ลองคิดดูว่าหากคุณต้องทำงานที่นี่ ต้องทำงานกับคนที่กำลังสัมภาษณ์คุณอยู่ จะทำงานไหวหรือเปล่า อีกทริกหนึ่ง ก็คือลองไปดูในโซเชียลมีเดียของบริษัทว่าพนักงานที่นั่นเป็นอย่างไร มีไลฟ์สไตล์อย่างไร แล้วคุณชอบไลฟ์สไตล์เหล่านั้นหรือเปล่า ถ้าชอบก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี อย่าลืมว่าการเข้าสังคมใหม่ๆ เป็นการลงทุนอีกอย่างที่มีความเสี่ยงเหมือนกันนะ


3. ค่าใช้จ่ายต่างๆ ไหวไหม

บางทีที่ทำงานใหม่อาจจะให้เงินเดือนสูงขึ้นก็จริง แต่ว่าอยู่ไกลบ้านมาก แล้วยังไม่อยู่ติดป้ายรถเมล์หรือรถไฟฟ้าก็จะทำให้ค่าเดินทางสูงขึ้น เพราะต้องต่อรถหลายต่อ หรือถ้าเป็นย่านใจกลางเมืองที่อาหารแพง ขนมแพง ก็อาจจะทำให้เงินเดือนที่ได้เพิ่มสูงขึ้นมาไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายได้ อย่าลืมไปสำรวจรอบๆ ที่ทำงานให้ดีก่อน จะซื้อกาแฟร้านไหน กินข้าวที่ไหน เดินทางวิธีไหน ไม่งั้นอาจจะเจ็บหนักกว่าที่ทำงานเก่าได้นะ


4. สวัสดิการที่ใหม่  

เดี๋ยวนี้จะมองแต่เรื่องเงินอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะเงินเดือนแต่ละที่ก็อาจจะไม่ได้แตกต่างกันมาก แต่ที่จะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ก็คือเรื่องสวัสดิการที่บริษัทต่างๆ มักจะใช้เป็นกลยุทธ์ในการดึงดูดให้คนเข้ามาทำงาน ดังนั้นถ้าจะให้ดีก็มองหาสวัสดิการที่ตอบโจทย์การทำงานของตัวเองบ้าง ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงไปได้พอสมควรเลย


5. อย่าลืมย้าย PVD มา RMF ของ TMBAM

ถ้าทั้ง 4 ข้อผ่านฉลุยแล้ว ถึงเวลาจะต้องลาออกจริงๆ ก็ไม่ได้มีแต่เรื่องใบลาออกเท่านั้น แต่ยังมีอีกเรื่องสำคัญที่ห้ามลืมจัดการเลยก็คือเรื่อง “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)” ถ้าบริษัทเดิมคุณมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ เมื่อลาออกคุณจะมีเงินก้อนหนึ่งสะสมไว้ในแต่ละเดือนจากเงินเดือนตัวเองและจากทางนายจ้างสะสมให้ คุณไม่ควรถอนออกมาหมดเพราะจะเสียภาษีอาน ควรนำคงค้างไว้ที่เก่าหรืออีกทางเลือกหนึ่งที่ยอดเยี่ยมเลยก็คือนำเงินไปต่อยอดให้เป็นประโยชน์ ไม่ว่าจะลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทใหม่ หรือถ้านโยบายลงทุนที่ใหม่ไม่ถูกใจก็สามารถย้ายไปลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ได้ เพราะจะได้ไม่เสียโอกาสในการออมเงินต่อเนื่องจนเกษียณ แก่ไปจะได้ไม่ลำบาก

อย่างตอนนี้ สามารถนำเงินก้อนที่ได้จาก PVD ไปลงทุนในกองทุน RMF ของ TMBAM ต่อยอดการลงทุนได้อย่างไม่มีสะดุด ซึ่งการโอนย้ายเงินจาก PVD มา RMF ไม่เสียค่าธรรมเนียมการโอนย้าย เพราะถือเป็นการจ่ายเงินให้กับสมาชิกที่สิ้นสถานภาพสมาชิกตามปกติ และจุดเด่นเลยก็คือ TMBAM มีกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศทั้ง จีน ญี่ปุ่น อเมริกาและอีกหลายประเทศที่มีศักยภาพสูงและอสังหาริมทรัพย์ถึง 18 กองทุน ทำให้สามารถลงทุนได้ตามความต้องการ ซึ่งถ้าตัดสินใจลงทุนปีนี้จะได้รับโปรโมชั่นจากกองทุน RMF อีกด้วยนะ


พิเศษสุดตอนนี้เขากำลังจัดกิจกรรมแจกหนังสือและ Tote Bag เพียงเพิ่ม LINE@ ของ TMBAM เป็นเพื่อน จากนั้นพิมพ์ TMBAMPVD ในแชท ก็รับของไปเลย อย่ารอช้า !

สำหรับใครที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ LINE@ ของ TMBAM คลิกเลย

* ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน


close
Join WorkVenture for the newest job offers and company reviews