HR & employers | 28 April 2017

3 วิธีสำหรับฝ่ายบุคคล เพื่อเลิกใช้สวัสดิการที่ไม่จำเป็นสำหรับ 'เอาใจพนักงาน'

สวัสดิการของบริษัทยุคใหม่ ๆ เริ่มดูไม่เข้าท่าขึ้นทุกที ทั้งอาหารฟรีไม่อั้น ยิมในออฟฟิศ เปลญวน ผาจำลอง คนเฝ้าประตูส่วนตัว หรือจะงบตกแต่งโต๊ะทำงานหลายแสน รู้หรือไม่ว่ายิ่งบริษัทพยายามให้สวัสดิการมากมายเท่าไหร่ยิ่งทำให้พนักงานไม่เข้าใจว่าทำไมการจะมีความสุขในการทำงานต้องทำถึงขนาดนั้น ซึ่งแน่นอนว่าในขณะเดียวกันหลายคนก็คงทึ่งในความล่อใจของสิ่งที่ได้ยิน ก็แหมใครหล่ะจะไม่อยากให้เจ้านายจ่ายค่าจัดงานแต่งงานให้ นั่นแหละที่ทำให้ฝ่ายบุคคลพยายามโฆษณาข้อดีข้อเด่นของบริษัททั้งหมดก็หวังเพื่อจะดึงดูดพนักงานเก่ง ๆ เข้ามา และแน่นอนว่าบริษัทต้องไม่ยอมเสียเปรียบ ถ้าบริษัทเสนอสวัสดิการทั้งหมดข้างบนนั้น คุณก็ควรเตรียมรับมือกับการทำงานไว้ให้ดี เพราะอย่างที่ว่ากันไว้ว่าที่เจ้านายต้องออกสวัสดิการล้ำ ๆ นั้นก็เพื่อทำให้บริษัทเป็นที่ต้องการของพนักงานเอง

อันที่จริงแล้วก็ไม่ใช่สวัสดิการที่ดึงพนักงานไว้ แต่เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีต่างหาก และ 3 วิธีต่อไปนี้เป็นวิธีการสร้างวัฒนธรรมที่จะสร้างความกระตือรือร้นและความสนใจให้เหล่าพนักงาน

1. เปลี่ยนอาหารฟรีเป็นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์แทน

อ๊ะ ๆ อย่าเพิ่งเข้าใจผิด จริง ๆ แล้วอาหารฟรีก็ดีมาก อย่างฉันก็ชอบชิมอาหารฟรีเป็นชิวิตจิตใจ ยิ่งถ้ามีอาหารฟรีที่ที่ทำงานด้วยหล่ะก็ยิ่งชอบใหญ่ แต่อาหารฟรีที่บริษัทมันจะส่งผลต่อจิตสำนึกของเรายังไงหล่ะ

การมีอาหารฟรีที่ที่ทำงานจะทำให้เรายึดติดกับงานมากกว่าที่ควร แทนที่ตอนกลางวันจะออกไปหาอะไรกินนอกบริษัท คุณจะคิดว่าทำเองแล้วก็เอามานั่งกินที่โต๊ะทำงานก็ได้นี่นา จากนั้นก็ เอ๊ะ แค่กลางวันจะพอเหรอในครัวมีอาหารว่างตั้งเยอะตั้งแยะ งั้นทำงานเลิกช้าหน่อยจะได้กินอาหารเย็นฟรีที่บริษัทด้วยเลย พูดง่าย ๆ ก็คืออาหารฟรีทำให้เราอยู่ที่ออฟฟิศนานเกินไปซึ่งนำไปสู่การทำงานหนักเกินควร อาการเมื่อยล้าและป่วยตามมา และยิ่งไปกว่านั้นคือมันสิ้นเปลืองมาก ที่อเมริกาองค์กรต่าง ๆ ต้องจ่ายเงินค่าอาหารถึงสองหมื่นล้านเหรียญต่อปี แล้วถ้าองค์กรนั้นคิดจะตัดงบส่วนนี้ออกไปหรือผู้จัดการลืมสำรองเงินไว้หล่ะก็ พนักงานต้องไม่ปลื้มแน่


บทความที่คุณอาจจะสนใจ : 

5 บริษัทในไทย ที่มีสวัสดิการ “ดีต่อใจ” มากที่สุด


เพราะฉะนั้นทางที่ดีที่สุดที่คือ แค่มีชากาแฟฟรีแล้วมีอาหารมาสร้างความตื่นเต้นนาน ๆ ครั้งก็พอแล้ว ซึ่งต้องไม่เป็นตัวล่อให้พนักงานอยู่ออฟฟิศนาน ๆ ด้วย และควรจัดให้มีโต๊ะยาว ๆ ในห้องอาหารเพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสนั่งสมาคมกัน หรือตั้งกฎห้ามทานอะไรที่โต๊ะทำงานเพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานติดแหง่กอยู่ที่โต๊ะแล้วทำงานนอนสตอปทั้งวัน อีกอย่างหนึ่งคือให้หัวหน้าและผู้จัดการทานอาหารที่โต๊ะเดียวกันกับพนักงานคนอื่น ๆ วิธีเหล่านี้จะสร้างความสัมพันธ์ของพนักงานให้แน่นแฟ้นและการสื่อสารกันง่ายขึ้นในเวลาทำงาน ในระหว่างการสัมภาษณ์พนักงานใหม่ ลองให้เขานั่งทานข้าวกับพนักงานคนอื่น ๆ ดู ถือเป็นโอกาสที่จะได้เห็นว่าพนักงานใหม่คนนี้จะเข้ากับเพื่อน ๆ ได้หรือเปล่า

2. เปลี่ยนจากวันหยุดเป็นการยืดหยุ่นการทำงาน

ภาระหนักอึ้งของผู้บริหารระดับสูงหลาย ๆ คนคือการที่บริษัทมีวันหยุดให้พนักงานมาก ๆ  ซึ่งไม่จำเป็นเลยสำหรับพนักงานบางคน คุณสามารถสร้างบรรยากาศที่ทำงานให้เป็นการมาทำงานแล้วสามารถบอกเหตุผลที่มีน้ำหนักและสมเหตุสมผลที่จะเลิกงานได้หลังทำงานเสร็จ เป็นการให้อิสระในการจัดสรรเวลาทำงานแทนที่จะเข้างานเก้าโมงเลิกห้าโมงแบบเช้าชามเย็นชาม  เพราะบางคนก็ทำงานได้ดีตอน 11 โมงมากกว่าช่วงเวลาอื่น ส่วนบางคนก็ฟิตตั้งแต่ช่วงสายไปจนดึก หรือเรื่องวันหยุดที่บางคนเลือกจะขอหยุดยาวไปเลยเป็นเดือนในขณะที่บางคนก็ขอแค่วันหยุดยาวสุดสัปดาห์เท่านั้น และด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มีช่องทางการสื่อสารมากมาย พนักงานแทบจะไม่ต้องมาที่ออฟฟิศด้วยซ้ำ ทำให้การทำงานระยะไกลเป็นทางเลือกหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในหลายองค์กร


บทความที่คุณอาาจะสนใจ : 

พนักงานญี่ปุ่นเฮ รัฐบาลลดเวลาการทำงานลงเหลือแค่สัปดาห์ละ 4 วัน


การยืดหยุ่นเวลางานได้สามารถสร้างความสนใจให้พนักงานใหม่ได้ดีไม่แพ้กัน ฝ่ายบุคคลสามารถถามได้ว่าสไตล์การทำงานเป็นแบบไหน ชอบการทำงานแบบไหน แล้วแสดงให้เห็นไปเลยว่าที่นี่เหมาะกับสไตล์การทำงานของเขาแค่ไหน

3. เปลี่ยนออฟฟิศไร้ฉากด้วยนโยบายเปิดประตู

การที่บริษัทมีห้องใหญ่ ๆ ให้ทุกคนทำงานรวมกันโดยไม่แยกห้องดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ทำให้พนักงานเปิดใจและร่วมมือกันมากขึ้น แต่ไม่จริงอย่างนั้นเสมอไป บางคนทำงานแบบนั้นไม่ได้เช่นเดียวกันการที่อย่าหวังให้คนนั่งสบาย ๆ บนเก้าอี้นุ่ม ๆ ให้ทำงานดี ๆ ให้คุณ การสร้างพื้นที่ให้เหมาะกับแต่ละคนนั้นจึงดูจะเป็นความคิดที่ดีกว่าด้วยการผสมผสานมุมทำงานมุมต่าง ๆ โดยการจัดเป็นส่วนที่มีฉากกั้นแบ่งพื้นที่ มีห้องทำงานส่วนตัว จัดโซนสำหรับการทำงานเป็นทีม และโต๊ะทำงานส่วนกลาง แต่การจัดพื้นที่ทำงานเช่นนี้จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อมีคนทำงานหลายสไตล์อยู่รวมกัน เพราะไม่อย่างนั้นการจัดห้องทำงานแบบนี้ก็คงไม่เวิร์ค และแทนที่จะพยายามเปิดออฟฟิศโล่งเพื่อให้ทุกคนคุยกัน เปลี่ยนเป็นการสร้างวัฒนธรรมที่ทุกคนรู้สึกกล้าคุยกันดีกว่า สร้างบรรยากาศกระตุ้นให้พนักงานรู้สึกสบายใจที่จะพูดและแสดงความเห็นกับเพื่อนร่วมงานเพื่อพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น ซึ่งทำได้ง่ายมากเพียงแค่ให้ฝ่ายบุคคลทำกิจกรรมที่กระตุ้นการสื่อสารและการร่วมมืออย่างง่ายเท่านั้น


บทความที่คุณอาจจะสนใจ :

Google พลาดแล้ว! ออฟฟิศแบบเปิดโล่ง ไม่ได้ช่วยให้การทำงานดีขึ้น


การที่สามารถเลือกได้ว่าตัวเองเหมาะที่จะทำงานตรงไหนแล้วไม่รู้สึกอึดอัดกับห้องทำงานแบบเปิดสามารถดึงความสนใจสำหรับพนักงานใหม่ได้อย่างดี เพราะคนที่คุ้นเคยกับการทำงานแบบนี้มาก่อนจะรู้สึกกลัวได้  คุณยังสามารถเน้นย้ำวัฒนธรรมเปิดของบริษัทนี้ตอนกำลังรับสมัครด้วยการแสดงข้อมูลว่าพนักงานทำกิจกรรมสัมพันธ์อย่างไรแล้วผลออกมาดีมากแค่ไหน  พนักงานที่มีวิสัยทัศน์จะสนใจพื้นที่เผื่ออนาคตมากกว่าห้องที่ไว้แค่ใช้ทำงาน ซึ่งคุณยังสามารถบอกพนักงานใหม่ได้อีกว่าความคิดเห็นของพนักงานทำให้มีประโยชน์มากแค่ไหนกับบริษัทเพื่อให้เห็นว่าบริษัทเห็นคุณค่าของความคิดของพนักงานทุกคน

หลังจากพูดมายาวเหยียด สรุปสั้น ๆ คือคุณควรทำให้พนักงานใหม่รู้สึกว่าคุณเห็นศักยภาพที่เขาจะทำให้บริษัทได้ เห็นความสำคัญของพนักงานและจะส่งเสริมให้พวกเขาทุกคนก้าวหน้า เพราะในขณะที่บริษัทอื่น ๆ คิดว่าสวัสดิการที่หวือหวาเป็นวิธีที่ได้ผลที่จะดึงคนเก่ง ๆ มาร่วมงานได้ ความจริงแล้วคนที่คุณจะได้จ้างมานั้นนึกถึงเพียงแค่ผลประโยชน์อันสวยหรูที่คุณให้มากกว่าความสำเร็จขององค์กร