ปฏิเสธอย่างไรไม่ให้เป็น Yes man
หลายๆ คนอาจเชื่อว่า การตอบ “ตกลง” เข้าไปช่วยเพื่อนร่วมงานทุกคน จะได้รับการยอมรับ และคำชื่นชม ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว อาจไม่ใช่เสมอไป คุณอาจกลายเป็น Yes man ก็ได้
คำว่า Yes man มาจากหนังเรื่อง ‘Yes Man’ หรือชื่อไทย ‘คนมันรุ่งเพราะมุ่งเซย์เยส’ หนัง Feel Good ที่สะท้อนให้เห็นว่าการทำดี (แบบไม่ลืมหูลืมตา) ก็ไม่ใช่ผลดีเสมอไป
Yes Man คือ คนที่เห็นด้วยกับทุกสิ่งที่ผู้อื่นต้องการ เช่น เมื่อคนอื่นขอให้ทำงานให้ ก็ตอบตกลงในทันที เพียงเพราะแค่อยากให้สามารถเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ หรือหลีกเลี่ยงการเกิดความขัดแย้ง จนต้องมาแบกความอึดอัด ความเครียด ไว้คนเดียว ทำให้ไม่มีความสุข กดดัน และพลอยรู้สึกไม่ดีกับตัวเองไปด้วย แน่นอนว่าการเป็น Yes Man นั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี ของการเป็น Yes man
-
ลดความขัดแย้ง : การเห็นด้วยและไม่ปฏิเสธ อาจช่วยลดความขัดแย้งและการขุ่นเคืองใจได้ในสังคม อาจสร้างความ
-
เปิดรับสิ่งใหม่ๆ : การตอบตกลง อาจเป็นการไม่ปิดกั้นตัวเองในการลองสิ่งใหม่ๆ ที่ผ่านเข้ามา บางทีมันอาจพาเราไปเจอกับสิ่งดีๆ หรืออาจค้นพบในสิ่งที่ตัวเองถนัดโดยที่คุณก็ไม่รู้มาก่อน
-
สะสม Skills : เมื่อลองทำหลายๆ อย่างแล้ว ก็จะมี skills ต่างๆ ติดตัวอยู่ตลอด ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในอนาคต ที่คุณสามารถหยิบมาใช้ในเวลาที่จำเป็นได้
ข้อเสีย ของการเป็น Yes man
-
สูญเสียความเป็นตัวเอง : เนื่องจากคุณตัดสินใจตามความคิดของคนอื่น อาจละเลยความต้องการและความสำคัญของตัวเอง
-
ขาดความสมดุลในชีวิต : เป็นปัจจัยที่าจทำให้คุณขาดความสมดุลในชีวิต เพราะคุณต้องรับผิดชอบงานที่ไม่เหมาะสมกับความสามารถหรือความพร้อมของตัวคุณเอง
-
สูญเสียโอกาสในการเรียนรู้ : คุณอาจพลาดโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนา Skills ที่คุณถนัดและชื่นชอบจริงๆ
แต่จริงๆ แล้วนั้นวิธีแก้นั้นง่ายมากๆ อาจจะเริ่มต้นจากการ ปฏิเสธให้เป็นก่อน แม้ว่าจะเป็นการตอบที่ลำบากใจ ดังนั้นจึงอยากจะนำเสนอ
วิธีการปฏิเสธแบบไม่ทำให้เรารู้สึกผิดจนเกินไป
-
พูดว่า “ไม่” ให้ติดปาก เพราะเป็นการปฏิเสธแบบตรงไปตรงมาเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลที่สุด แต่ก็แนะนำให้ใช้น้ำเสียงและภาษากายที่เป็นมิตรดวยเช่นกัน
-
ขอเวลาในการตัดสินใจ หากว่าการปฏิเสธในทันทีอาจจะทำให้รู้สึกแย่ทั้งสองฝ่าย อีกทางเลือกหนึ่งคืการขอเวลาทวบทวนและตำในภายหลัง เพื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วน แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำพูดแบบให้ความหวังด้วยนะ
-
การให้เหตุผล การปฏิเสธจะดูหนักแน่น น่าเชื่อถือและน่ายอมรับมากขึ้น เมื่ออธิบายเหตุผลให้อีกฝ่ายเข้าใจ หลีกเลี่ยงบทสนทนายืดยาวเพราะจะเป็นการเปิดช่องว่างให้ผู้ถูกปฏิเสธยื่นข้อเสนอที่ชวนลำบากใจมากขึ้น
-
รับฟังและเสนอทางออก กรณีที่อยากช่วยเหลือจริงๆ เพียงแค่รับฟังปัญหาและเสนอทางออกที่เหมาะสมกว่าให้เขา
-
ปล่อยวางและเดินหน้าต่อไป ยอมรับและเข้าใจว่าเราไม่สามารถช่วยเหลือเขาได้จริงๆ ไม่ควรรู้สึกผิดในภายหลัง
เข้าใจได้ว่าหลายๆ คนอาจกลัวว่าคำปฏิเสธของเราอาจจะไปทำร้ายจิตใจของใครเข้า แต่อย่าลืมว่าเราต้องรักษาผลประโยชน์ของตัวเองไว้ด้วยเช่นกัน ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนตัวตนจากหน้ามือ เป็นหลังมือได้ในชั่วข้ามคืน เราอาจจะต้องค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราไปทีละเล็กละน้อย แต่คุณจะยังคงเป็นคนที่ใจดีเหมือนเดิม เพียงค่เหนื่อยน้อยลงเท่านั้นเอง