
สรุปประเด็นจาก Speaker : งาน Top50 Companies in Thailand 2025
การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอในทุกยุคสมัย แต่ในปัจจุบัน องค์กรต้องเผชิญกับการแข่งขันที่เข้มข้นรอบด้าน ทั้งในด้านเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพให้เข้ามาร่วมเติบโตไปด้วยกัน “Employer Branding” จึงไม่ใช่เพียงเรื่องรอง แต่กลับกลายเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างองค์กรให้ยั่งยืนและโดดเด่นในสายตาของคนทำงานยุคใหม่
ในบทความนี้ WorkVenture ได้สรุปประเด็นสำคัญจากงาน Top50 Companies in Thailand 2025 โดยรวบรวมมุมมองจากผู้นำองค์กรระดับประเทศทั้ง 3 ท่าน ผู้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันองค์กรให้ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในใจของพนักงาน และเป็นแบรนด์นายจ้างที่ได้รับการยอมรับจากคนรุ่นใหม่ในประเทศไทย
"AI-First คือ People First เพราะเทคโนโลยีซื้อได้ เเต่ศักยภาพของคนคือสิ่งที่ต้องลงทุน"
ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์ (Deputy Chief Executive Officer : SCBX)
มูฟไปข้างหน้าให้สุด! กับ ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์ Deputy Chief Executive Officer of SCB X Public Company Limited (SCBX) มาร่วมแชร์มุมมองสุดอินไซด์ถึงการนำ AI มาเปลี่ยนโฉมองค์กร ซึ่งจะเขย่ามุมมองของคุณเกี่ยวกับ AI ในโลกการทำงานใหม่ ที่ว่าจะล้ำแค่ไหน ก็ต้องยกให้ "คน" เป็นหัวใจสำคัญ
1. SCBX ตั้งเป้าเป็น AI-first Organization : ผลประกอบการขององค์กร 75% จะต้องมี AI เป็นส่วนหนึ่ง เช่น การบริหารความเสี่ยง การให้บริการสินเชื่อ หรือการยกระดับสร้างประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า
2. 15% ของพนักงานต้องมีความรู้เรื่อง AI : ปัจจุบันพนักงานในกลุ่ม SCBX อยู่ที่ประมาณ 30,000 คน ดังนั้นพนักงานอย่างน้อย 5,000 คน จะต้องมีความรู้เรื่อง AI ที่ไม่ใช่แค่ผู้ที่ใช้งาน AI ได้ แต่เป็นผู้ที่สามารถพัฒนาได้ เป็นหัวใจที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในระยะยาว
3. ความท้าทายของการใช้ AI : การนำ AI มาใช้มีความท้าทายสูง เพราะคนจะกลัวถูกแทนที่ด้วย AI จนตกงาน รวมถึงความสามารถและความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยีของเจเนอเรชันที่ต่างกันในองค์กร ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัยขึ้น SCBX จึงต้องมีกระบวนการที่ทำให้น้อง ๆ รุ่นใหม่และพนักงานรุ่นพี่เดินไปด้วยกันได้
4. การเตรียมความพร้อมให้ “คน” : มีโปรแกรมและหลักสูตรให้พนักงานเรียนรู้เรื่อง AI เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถเข้าใจพื้นฐานของ AI ได้ 100% พร้อมทั้งจัดเตรียมอุปกรณ์และระบบที่พร้อมใช้งาน โดยในส่วนขององค์กรและผู้บริหารก็พร้อมให้การสนับสนุนพนักงานที่จะกล้าลองผิดลองถูก และกล้าลงมือทำเพื่อพัฒนาและเรียนรู้ไปด้วยกัน
5. 4 keys สำคัญของ Journey to AI-first Organization :
-
People First เรื่องคนต้องมาก่อน เทคโนโลยีหาซื้อได้ แต่พนักงานของเรา คือผู้ที่มีความสำคัญที่สุด การพัฒนา mindset และความรู้ความสามารถ เป็นสิ่งที่ต้องลงทุนในตัวบุคคลก่อนเสมอ
-
Learning ไม่ใช่ Training การเรียนรู้ต้องเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลา พนักงานต้องมีความพร้อมในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ด้วยตนเองและไม่หยุดพัฒนาตลอดเส้นทาง
-
Empower เชื่อมั่นและสนับสนุนให้พนักงานกล้าลงมือทำ โดยที่องค์กรพร้อมรับความเสี่ยงไปด้วยกัน
-
AI เป็นทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ AI ไม่ได้แค่เกี่ยวกับการหาคำตอบ แต่เป็นการถามคำถามที่ท้าทายและสามารถนำไปสู่ความรู้ใหม่ ๆ ซึ่งต้องการทั้งศาสตร์และศิลป์เพื่อนำไปใช้
WorkVenture มองว่า วิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของ SCBX ในการมุ่งไปสู่ AI-first Organization แต่ยังคงให้ความสำคัญกับพนักงานมาเป็นอันดับหนึ่งของ SCBX คือเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้ SCBX ติดอันดับองค์กรที่คนรุ่นใหม่อยากร่วมงานด้วยมากที่สุดแบบสมศักดิ์ศรี สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับคนมาเป็นอันดับแรก หรือ "People First" ออกมาได้อย่างแท้จริง
"We always lead business and people together."
Christain Dassonville (Country HR Manager : IKEA Thailand)
คุณ Christian Dassonville : Country HR Manager, IKEA Thailand ได้แชร์ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์นายจ้างในแบบฉบับของ IKEA ผ่านวิสัยทัศน์ “การทำให้ชีวิตประจำวันของใครหลายคนดีขึ้น (To create a better everyday life for the many people) ที่กลายมาเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมองค์กร และการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมของ IKEA โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจดังนี้
Superpowers ในการสร้างแบรนด์นายจ้างแบบ IKEA
1. วิสัยทัศน์ที่สร้างผลกระทบเชิงบวก
IKEA ไม่เพียงมุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการสร้างชีวิตประจำวันที่ดีขึ้นให้กับพนักงานผ่าน EVP ที่มุ่งเน้นการทำงานที่ IKEA เป็นมากกว่าการทำงาน แต่คือการร่วมสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อผู้อื่นและการเติบโตไปด้วยกันกับองค์กร ด้วยการดำเนินธุรกิจภายใต้ความยั่งยืน
IKEA มุ่งมั่นในเรื่องความยั่งยืนภายใต้กลยุทธ์ปี 2030 ด้วยสามเสาหลัก:
-
Healthy & Sustainable Living: ส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนและมีสุขภาพดีในราคาที่เข้าถึงได้
-
Climate Nature & Circularity: ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและส่งเสริมระบบธุรกิจแบบหมุนเวียน
-
Fair & Caring: สร้างความเป็นธรรมและความเท่าเทียมในที่ทำงานและชุมชน
2. วัฒนธรรมและค่านิยมที่ขับเคลื่อนองค์กร
-
Cultures & Value: IKEA มีวัฒนธรรมองค์กรที่โดดเด่น ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ เป็นทั้งแหล่งแรงบันดาลใจ ความท้าทาย และพลังในการขับเคลื่อนองค์กร
-
Value-based Leadership: การเป็นผู้นำที่ยึดมั่นในค่านิยมองค์กร โดยเชื่อว่าความสำเร็จไม่ได้เกิดจากการขับเคลื่อนธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่ต้องพาทุกคนในองค์กรก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน
-
Value-based Recruitment: ที่นี่ไม่ได้มองหาพนักงานจากแค่ข้อมูลใน CV แต่ยังให้ความสำคัญกับการค้นหาคนที่มีค่านิยมเดียวกัน และมีความหลงใหลในเฟอร์นิเจอร์และการค้าปลีกในแบบที่ IKEA ทำ
3. IKEA & Sweden
-
IKEA เป็นแบรนด์ที่มีรากฐานมาจากสวีเดนและยังคงรักษาเอกลักษณ์ความเป็น Swedish ไว้อย่างชัดเจน
-
วิสัยทัศน์องค์กรได้รับแรงบันดาลใจของคุณ Ingvar Kamprad ผู้ก่อตั้งแบรนด์
-
ความเป็น Swedish สะท้อนผ่านองค์ประกอบต่างๆ ของแบรนด์ เช่น โลโก้ วัฒนธรรมองค์กร และ การออกแบบสินค้าอันเป็นเอกลักษณ์ของ IKEA
4. Love for the Brand (การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รัก)
-
การส่งเสริมจากภายในองค์กร: IKEA ส่งเสริมให้พนักงานเป็นตัวแทนของแบรนด์ผ่าน Value Ambassadors ซึ่งสะท้อนค่านิยมที่องค์กรยึดถือ
-
การจัดกิจกรรมภายนอก: เช่น เวิร์กชอปด้านความยั่งยืน กิจกรรมสรรหาบุคลากร และวันสังคม (Social Days) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและชุมชน
ไม่ว่าจะในส่วนของความใส่ใจต่อพนักงาน หรือการรักษาเอกลักษณ์ของแบรนด์จนกลายเป็นที่รักของผู้บริโภค ทั้งหมดนี้ได้สะท้อนแล้วว่าการสร้างแบรนด์นายจ้างในแบบฉบับของ IKEA ที่ไม่เพียงมุ่งยกระดับชีวิตประจำวันของลูกค้า แต่ยังใส่ใจสร้างคุณค่าให้กับพนักงานและชุมชนรอบข้างมาโดยตลอด
"อยากเป็นเเบรนด์องค์กรในดวงใจคนทำงาน ต้องรู้เขา รู้เรา เเละรู้ทัน"
คุณจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐ (Head of Employer Branding : WorkVenture)
คุณจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านการสร้างแบรนด์องค์กรนายจ้าง Employer Branding จาก WorkVenture ได้กล่าวถึงแนวโน้มสำคัญเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์นายจ้างในปี 2025 โดยเน้นย้ำว่าการสร้างองค์กรให้เป็นที่ต้องการของคนรุ่นใหม่ไม่ใช่การแข่งขัน แต่คือการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกัน รู้เขาคือรู้ว่าทุกวันนี้คนทำงานต้องการอะไร รู้เราคือรู้จุดแข็งองค์กรของเราส่งมอบประสบการณ์การทำงานเรื่องไหนได้ดีบ้างและทำให้ดียิ่งขึ้นจนกลายเป็นจุดขาย รู้ทันคือรู้ว่าความคิดและพฤติกรรมของคนทำงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรแล้วรีบปรับตัวให้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อมุ่งสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนทำงาน สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม และทำให้เศรษฐกิจไทยมีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน (Healthy Economy)
หัวใจของการสร้างแบรนด์นายจ้าง (Employer Branding) ในปี 2025
-
Meaningful Work: การทำงานสำหรับคนรุ่นใหม่ไม่ใช่แค่การทำงานไปวันๆ แต่ต้องเป็นงานที่ทั้งพัฒนาตนเองและให้ความเปลี่ยนแปลงแก่องค์กรและสังคม จากผลการสำรวจล่าสุด คนทำงานเผยถึงสิ่งที่จะทำให้เกิดประสบการณ์การทำงานที่มีความหมายและมีคุณค่าได้มากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่
-
Career Advancement: การเติบโตก้าวหน้าในสายอาชีพช่วยให้พนักงานเห็นเส้นทางการเติบโตที่ชัดเจน สร้างเป้าหมายและวิสัยทัศน์ระยะยาวในการทำงาน เป็นพลังความหวังให้มุ่งมั่นพัฒนาตัวเอง
-
Performance Recognition: การยกย่องและยอมรับในผลงานทำให้พนักงานรู้สึกว่าความพยายามของตนเองมีความหมายและได้รับการยกย่องเพื่อสร้างแรงจูงใจและความภูมิใจให้กับพวกเขา
-
Training & Development: การฝึกอบรมและการพัฒนาศักยภาพช่วยให้พนักงานมีทักษะที่จำเป็นในการประสบความสำเร็จ ทำให้การทำงานมีความท้าทายและมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น เกิดความภาคภูมิใจที่ได้ยกระดับความสามารถและมีความเชี่ยวชาญสูงขึ้นจากงานที่ทำและองค์กรที่อยู่ด้วย
Supertrend ของการสร้าง Employer Branding ในปี 2025
1.) ESG x Employer Branding: ESG (Environmental, Social, and Governance) ไม่ได้เป็นแค่เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม แต่คือหนึ่งในหัวใจของการสร้าง Employer Branding ที่เข้าถึงคนรุ่นใหม่
-
ส่งเสริมความยั่งยืนและจริยธรรมในองค์กร ทำให้ดึงดูดกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้ดีขึ้นทั้งภายในและภายนอก
-
ในทางกลับกัน Employer Branding เองก็เป็นส่วนหนึ่งของ ESG เพราะเป็นกระบวนการที่ใส่ใจคนทำงาน ยกระดับคุณภาพชีวิต มุ่งเน้นการจ้างงานอย่างเป็นธรรม ส่งผลให้การประเมินความยั่งยืนขององค์กรดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
2.) Digital x Employer Branding: กลุ่ม Gen Z กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น รวมถึงเจนเนอเรชันใหม่ๆ ที่แบรนด์เริ่มสื่อสารและสร้างความผูกพันไว้ล่วงหน้า เกิดการวางกลยุทธ์ใหม่ทั้งด้านช่องทางสื่อสาร (Channel) และเนื้อหาข้อมูล (Content) การเล่าเรื่องราวขององค์กรในรูปแบบที่โดนใจ และทันสมัยจึงเป็นสิ่งจำเป็น อาทิเช่น
-
สร้างเนื้อหาที่สะท้อนวัฒนธรรมองค์กรผ่านแพลตฟอร์มโซเชียล โดยเฉพาะวิดีโอสั้นบน TikTok เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
-
ส่งเสริมให้พนักงานเป็น Brand Ambassadors เล่าถึงประสบการณ์ดีๆ ในองค์กร
3.) การยกระดับ EVP (Employer Value Proposition): การเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ XYZ ในปีนี้ ทำให้องค์กรชั้นนำถึงเวลาที่ต้องทบทวนและปรับปรุง EVP หรือชุดคำมั่นสัญญาขององค์กรนายจ้างให้ตอบโจทย์คนทำงานครอบคลุมทุกเจเนอเรชันในองค์กร และรองรับการจ้างงานในรูปแบบใหม่ได้
-
คำนึงถึงความต้องการที่หลากหลายของพนักงาน โดยเฉพาะประเด็นด้านความยั่งยืนและค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป
และนี่คือแนวทางความสำเร็จที่นายจ้างต้องจับตาดูและนำปรับใช้ให้ดี เพื่อดึงดูดคนเก่งในตลาดแรงงานทั้งในวันนี้และอนาคต อย่าลืมว่าการสร้าง Employer Branding ที่ยั่งยืนไม่ใช่แค่เรื่องของภาพลักษณ์ แต่คือการสร้างประสบการณ์การทำงานที่มีคุณค่า พร้อมสื่อสารสิ่งเหล่านั้นออกไปอย่างจริงใจและชัดเจน เสียงสะท้อนของคนทำงานทั้งในองค์กรและนอกองค์กรจึงมีความสำคัญอย่างมากเพราะเมื่อคนทำงานได้รับประสบการณ์ที่ตอบโจทย์ โดนใจได้ดีขึ้นและมากยิ่งขึ้น พวกเขาก็พร้อมที่จะทุ่มเททำงานอย่างเต็มความสามารถและเติบโตไปพร้อมกับองค์กร นั่นคือหลักฐานที่แท้จริงของการก้าวสู่การเป็น Employer of Choice องค์กรนายจ้างในดวงใจของคนทำงานรุ่นใหม่
สิ่งที่ผู้นำองค์กรแต่ละท่านได้แชร์ในงาน Top50 Companies in Thailand 2025 เป็นเพียงหนึ่งในหลากหลายมุมมองที่สะท้อนให้เห็นว่าโลกการทำงานยุคใหม่กำลังเปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่เริ่มมองหา “ความหมาย” ของการทำงานและอยากทำงานในที่ที่ทำให้ตัวของเขารู้สึกว่า “มีคุณค่า”
ทั้งนี้ยังมีองค์กรอีกมากมายที่ตั้งใจสร้างคุณค่าให้กับพนักงานและสังคมในแบบของตนเอง สามารถติดตามต่อได้ใน Top50 Companies in Thailand 2025 ที่จะพาคุณไปทำความรู้จักกับอีกหลากหลายบริษัทชั้นนำที่คนรุ่นใหม่อยากร่วมงานด้วยมากที่สุด