พนักงาน“หมดไฟ” ปัญหาใหญ่ที่บริษัทไม่ควรละเลย
การที่พนักงานทำงานหามรุ่งหามค่ำ หลายบริษัทอาจมองว่า เป็นเรื่องดีที่จะได้เห็นพนักงานแสดงความสามารถออกมาอย่างเต็มที่ ในขณะที่ความเหนื่อยล้าจากการทำงานบริษัทมักจะมองว่าเป็นปัญหาส่วนบุคคลที่ต้องไปจัดการกันเอาเอง เบื้องหลังความเหนื่อยล้าจากการทำงานอย่างหนัก ไม่ได้ให้ผลดีอย่างที่คาดคิด อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพทางกายและจิตอย่างไม่น่าเชื่อ ไม่เพียงรัฐต้องแบกรับการจ่ายประกันสังคมที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ค่ารักษาพยาบาลปัญหาโรคทางกายและทางจิต ที่เกิดจากการทำงานพุ่งสูงขึ้นจาก แสนสองหมื่นห้าพันล้าน ไปสู่ 190,000 ล้านเหรียญ ภายในเวลาเพียง 1 ปี
องค์กรไม่ได้จะโตขึ้นจากการให้พนักงานทำงานหามรุ่งหามค่ำทุกวัน
เมื่อพนักงานถูกใช้งานอย่างคุ้มทุกบาททุกสตางค์ จนเรียกได้ว่า “เกินคุ้ม” ผลที่ตามมาคือ การเปลี่ยนงาน ลาออก ปริมาณงานเพิ่มขึ้น แต่คุณภาพงานต่ำลงไม่เพียงการโหลดงานที่เยอะเกินที่ทำให้พนักงานลาออก การประชุมที่นับครั้งไม่ถ้วนที่แต่ละครั้งเสียเวลาไปอย่างเปล่าประโยชน์ ที่ทำให้เหลือเวลาเพียงน้อยนิดหลังการประชุมเพื่อมาทำงาน นี่ก็เรื่องอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้พนักงานเกิดความไม่มั่นใจ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้น้อยลง และหมดไฟในการทำงานในที่สุด หากบริษัทที่คุณทำงานอยู่เป็นอย่างที่กล่าวข้างต้น นั่นเป็นสัญญาณว่าบริษัทคุณเป็น 1 ใน 7 บริษัทที่คุณไม่ควรทำงานด้วย
ปัญหาพนักงงานหมดไฟบริษัทเป็นสิ่งที่องค์กรควรพิจารณาแก้ปัญหาอย่างจริงจัง โดยคำนึงถึง
1) การประชุมที่มีผู้ร่วมตัดสินใจมากเกินไป
หลายครั้งการประชุมยืดเยื้อเสียเวลาและพลังงานของพนักงานโดยไม่จำเป็น หรือเรียกอีกอย่างว่าบริษัทเน้นคุยงานไม่เน้นทำงาน ทางแก้คือควรปรับตั้งแต่โครงสร้างขององค์กร กำหนดผู้มีสิทธิในการตัดสินใจ เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ประชุมโดยตรงเป็นหลัก หรือเลือกที่จะประชุมในเรื่องที่สำคัญจริงๆ ประชุมให้น้อยลง ให้ความสำคัญกับเวลาในการสร้างสรรค์ผลงานหลังการประชุมมากขึ้น
2) การบริหารเวลาที่ไร้วินัย
พนักงานส่วนหนึ่งต้องเสียสละเวลาชีวิตส่วนตัว รวมถึงจัดการความเครียดด้วยตัวเองภายในเวลาที่จำกัด เช่น ให้งานตอนบ่ายแล้วบอกขอภายในวันนี้ เพื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จ บริษัทจึงควรมีส่วนช่วยจัดระเบียบวินัย เวลาการทำงานเพื่อไม่ให้ยืดเยื้อ หรือเร่งรีบจนเกินไป โดยคำนึงถึงคุณภาพของผลงานมากขึ้น
3) งานหนักมาก แต่กลับไม่ได้ใช้ความรู้ความสามารถ
ผู้บริหารหลายคนเสียเวลาไปกับการตอบอีเมลทุกฉบับ และเข้าประชุมตลอดเวลา ทำให้ภาระหน้าที่มากเกินความจำเป็น และเหนื่อยล้าเกินไป วิธีการจัดการคือ ควรมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของงานอย่างสมเหตุสมผล โดยคำนึงถึงความสามารถและขอบเขตในการรับงานของแต่ละบุคคลมากขึ้น
เป็นที่น่าเสียดาย หากบริษัทจะต้องสูญเสียพนักงานที่หมดไฟในการทำงานไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยที่คนในองค์กรยังคงเพิกเฉยต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้บริหารจึงควรให้ความสำคัญกับการจัดสรรเวลาในการทำงานมากขึ้น เพื่อประสิทธิภาพของพนักงาน ซึ่งหมายถึงความเจริญก้าวหน้าที่จะนำมาสู่บริษัทนั่นเอง
เครดิตบทความ : Harvard Business Review