เครียดเกินไป ระวังกลายเป็น Burnout Syndrome ! หรือภาวะหมดไฟในวัยทำงาน
การทำงานหนักวนลูปอยู่กับสิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ มากจนเกินไป อาจนำไปสู่ภาวะหมดไฟในการทำงานได้ แต่หลายๆ คนอาจสับสนระหว่างความเครียดและความรู้สึกหมดไฟอยู่ คนที่เครียด กดดันและอ่อนล้าจากการทำงานนั้นเป็นคนที่มีพลังและแรงบันดาลใจใหม่ๆ เกิดขึ้นได้เสมอ ในขณะที่คนที่ไม่ได้รู้สึกกดดัน ตระหนักหรือเครียดใดๆ อาจเป็นคนที่หมดไฟซึ่งไม่ต้องการจะคิดหรือทำอะไรใหม่ๆ แล้ว
ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจที่เป็นผลมาจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงานและไม่ได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน ทำให้ผู้ที่มีภาวะหมดไฟมีความรู้สึกว่างานนั้นเกินกำลังที่จะทำได้ มีอารมณ์ร่วมกับงานลดลงมาก และไม่สามารถตอบสนองกับความต้องการ ในการทำงานหรือทำงานได้ไม่ดี โดยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโรคใหม่จากองค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2022
ใครบ้างที่เสี่ยงภาวะ Burnout Syndrome
อาจมองว่าเป็นกลุ่มอาการที่เกิดวัยทำงานที่แบกรับหน้าที่หนักจนเกินไปเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วนั้นสามารถเกิดได้ทุกเพศ ทุกวัย ที่ใช้ชีวิตอยู่ในรูปแบบเดิมๆ รวมไปถึงเป็นคนที่จริงจังเกินไป ขาดความยืดหยุ่น งานทุกชิ้นต้องดี ยึดติดในความสมบูรณ์แบบ ความคาดหวังสูง และพยายามควบคุมทุกอย่างให้เป็นไปตามต้องการ ก็สามารถเกิดอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน
สาเหตุของการเกิดภาวะ Burnout Syndrome มักเกิดจาก
- ภาระงานหนัก และปริมาณงานมาก รวมถึงงานมีความซับซ้อน ต้องทำในเวลาเร่งรีบ
-
ขาดอำนาจในการตัดสินใจ และมีปัญหาการเรียงลำดับความสำคัญของงาน
-
ไม่ได้รับการตอบแทน หรือรางวัลที่เพียงพอต่อสิ่งที่ได้ทุ่มเทไป
-
รู้สึกไร้ตัวตนในที่ทำงาน หรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม
-
ไม่ได้รับความยุติธรรม ขาดความเชื่อใจ และการเปิดใจยอมรับกัน
-
ระบบบริหารในที่ทำงานที่ขัดต่อคุณค่า และจุดมุ่งหมายในชีวิตของตัวเอง
อาการของภาวะ Burnout Syndrome
- ด้านอารมณ์ : หดหู่ ซึมเศร้า หงุดหงิดหรือโมโหง่าย อารมแปรป่วน ไม่พอใจในงานที่ทำ
-
ด้านความคิด : มองคนอื่นในแง่ลบ มักโทษคนอื่นเสมอ หนีปัญหา สงสัยและไม่เชื่อในศักยภาพของตัวเอง
- ด้านพฤติกรรม : ผัดวันประกันพรุ่ง ขาดความกระตือรือร้น หุนหันพลันแล่น บริหารจัดการเวลาไม่ได้ ไม่อยากตื่นไปทำงาน มาสายจนผิดสังเกตติดต่อกัน ไม่มีสมาธิและไม่มีความสุขในการทำงาน
ผลกระทบของภาวะ Burnout Syndrome
-
ผลด้านร่างกาย : อาจพบอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ
-
ผลด้านจิตใจ : บางรายอาจสูญเสียแรงจูงใจ หมดหวัง รู้สึกหมดหนทางที่จะช่วยให้ดีขึ้น ส่งผลให้มีอาการของภาวะซึมเศร้าและอาการนอนไม่หลับได้ หากอาการรุนแรงจะนำไปสู่โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง/ฝันร้าย อาจพบมีการใช้สารเสพติดเพื่อจัดการกับอารมณ์
-
ผลต่อการทำงาน : อาจขาดงานบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง อาจคิดเรื่องลาออกในที่สุด
วิธีรับมือและป้องกันภาวะ Burnout Syndrome
-
นอนหลับพักผ่อนให้เป็นเวลา อย่าเสียเวลาไปกับความกังวลในเรื่องงานของคุณ และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ กินอาหารที่มีประโยชน์
-
ลดความเครียดลง โดยการพบปะสังสรรค์ มีกิจกรรมนอกงานกับเพื่อนร่วมงานบ้าง ทั้งช่วงพัก พักทานอาหารกลางวันและช่วงนอกเวลางาน ในขณะเดียวกันให้ลดการพบปะสังสรรค์พูดคุย กับคนที่ทำให้รู้สึกแย่หรือเป็นลบรรมทำนอกเวลา ฟังเพลง ดูหนัง ออกกำลังกาย เป็นไปได้ลาพักร้อนเป็นระยะเวลาสั่นๆ
-
การปรับเปลี่ยนมุมมองต่องานที่ทำ มองหาคุณค่าในงานที่ทำ พยายามทำให้งานและชีวิตอื่น ๆ มีความสมดุล
-
เปิดใจให้กับคนรอบข้าง อย่าลังเลที่จะปรึกษาเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน พยามหลีกเลี่ยงกับคนที่มีความคิดในแง่ลบ ยอมรับความแตกต่างของคน และเปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่อาจไม่ตรงกัน
-
หยุดพักบ้าง พักร้อนบ้าง พาตัวออกจากสภาพแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจให้ดีขึ้น
คุณอาจรู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้ดูเป็นความสามารถที่คุณต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทัศนคติหลายๆ อย่าง การปรับทีละนิด ทีละหน่อย อาจช่วยทำให้ภาวะหมดไฟของคุณหายไป กลายเป็นแรงบันดาลใจต่างๆ แต่สำหรับคนที่ไม่ว่าจะทำมากี่วิธีแล้วยังไงคนก็ยัง ท้อแท้ เหนื่อยล้า บางทีการหางานใหม่ อาจจะเป็นคำตอบที่ใช่ของคุณมากกว่า