ออกแบบเรซูเม่ยังไงดี ให้ได้เรียกไปสัมภาษณ์สวยๆ
การเขียนเรซูเม่ที่ดีเป็นสิ่งท่ีสำคัญมาก เมื่อคุณต้องการทำให้ผู้ที่จะพิจารณาจ้างคุณสนใจ และเห็นคุณค่าของคุณในการทำงาน ซึ่งเรซูเม่นี้ก็เป็นการโปรโมตตัวคุณ บอกถึงทักษะ และประสบการณ์ของคุณให้ชัดเจน โดยเรซูเม่ที่ดีควรมีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ มีข้อมูลที่สำคัญทั้งบุคคล และการทำงานของคุณ นอกจากนี้ยังควรมีการเน้นทักษะ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่คุณสมัครด้วย
แล้วต้องออกแบบเรซูเม่ยังไงหล่ะถึงจะได้งาน? และแน่นอน WorkVenture ได้รวบรวมเทคนิคในการการเขียนเรซูเม่ที่ถูกต้องมาไว้ให้แล้ว เรามั่นใจว่าถ้าคุณเตรียมพร้อมตั้งแต่ต้นทางขนาดนี้คุณจะสามารถประสบความสำเร็จในการหางาน หรืออาจถึงขั้นได้รับการพิจารณาจ้างในตำแหน่งที่คุณต้องการมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งนี่เป็น 9 ข้อ ที่คุณควรใส่ในเรซูเม่ มีครบ ได้งานแน่นอน!
1. ข้อมูลส่วนตัว
- ชื่อ-นามสกุล
- วันเกิด
- ที่อยู่และเบอร์โทร (ไม่เกินหนึ่งเบอร์)
- ข้อมูล Social Media
2. ประสบการณ์การทำงาน
- Job Title หรือชื่อตำแหน่ง
- Name of the Company หรือชื่อบริษัท (ถ้าไม่ใช่บริษัทที่มีชื่อเสียงมาก ก็ควรเขียนอธิบายเพิ่มเติมว่าเป็นบริษัทเกี่ยวกับอะไร)
- Date of Employment หรือ วันที่เริ่มทำงานและวันสุดท้ายของการทำงาน
- Responsibilities/Accomplishment หรือ หน้าที่ที่คุณรับผิดชอบ/ผลงานที่คุณเคยทำ
3. การศึกษา รางวัลหรือกิจกรรมที่เคยทำ
- Degree or Area of Study ปริญญา หรือสาขาวิชาที่คุณศึกษา
- University ชื่อมหาลัย
- Program Name วิชาเอก
- Time Attended ช่วงเวลาที่เข้าศึกษา
- GPA ถ้าเกรดเฉลี่ยอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจก็ควรระบุ แต่ถ้าเกรดของคุณไม่ได้ดีจนอยากจะเอามาโชว์แนะนำว่าให้รีบหากิจกรรมที่เคยทำ หรือเน้นเรื่องฝึกงานมาใส่แทน
4. รางวัลหรือกิจกรรมที่เคยทำ
โชว์ความโดดเด่นของคุณที่แตกต่างจากคนอื่นๆ ลองเขียนกิจกรรมออกมาประมาณ 4 อย่างที่สามารถมองเป็นรางวัลหรือความสำเร็จของคุณในระหว่างที่คุณกำลังศึกษาอยู่ได้ ถ้าเป็นไปได้ก็ควรใส่กิจกรรมที่แตกต่างกันเพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมหรืองานที่หลากหลายได้
5. Skill ทักษะและความสามารถต่างๆ
ควรระบุแต่ละทักษะให้ชัดเจนและเจาะจง อย่างเช่น Excel, Photoshop,Programing, Google Ads นอกจากนี้ และแนะนำว่าคุณไม่จำเป็นจะต้องใส่พวก Team Player หรือ Good Communicator ลงไป เพราะมันเป็นทักษะที่วัดกันไม่ได้ ซึ่งถ้าคุณมีทักษะพวกนี้จริงๆ ในตอนสัมภาษณ์งานมันก็จะโชว์ออกมาเองแหละ
6. งานอดิเรก
ควรเป็นงานอดิเรกที่เกี่ยวข้องกับงานที่จะสมัคร เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงความสนใจในด้านทักษะที่จำเป็นในการทำงาน ซึ่งจะเป็นเรื่องของสกิลส่วนบุคคล เช่น การอ่านหนังสือ หลงใหลในภาษา แต่ระวังการใส่งานอดิเรกทั่วไปอย่าง เล่นเกม ดูหนัง ดูซีรีส์ หรือการติดตามดาราที่คุณชอบ เพราะมันไม่ได้กล่าวถึงทักษะอะไรเลย
7. รูปถ่าย
ควรเป็นรูปที่มีคุณภาพสูง คมชัด ดูสุภาพ และเห็นใบหน้าชัดเจน อย่าใช้ภาพที่เบลอ เพราะที่จริงแล้วรูปภาพสำคัญมาก อีกทั้งเป็นสิ่งแรกที่ผู้สัมภาษณ์จะเห็นคุณก่อนที่จะสัมภาษณ์
8.การออกแบบ
สำคัญมากในส่วนของการออกแบบ ยิ่งถ้าออกแบบได้ตรงกับตำแหน่งยิ่งทำให้คุณดูโดดเด่นกว่าคนอื่นๆ ในตำแหน่งเดียวกัน โทนสีก็สำคัญ HR แอบกระซิบมาว่ายิ่งการที่เราเลือกสีขององค์กรมาใช้ยิ่งทำให้รู้สึกว่าคุณทำการบ้านมาดี และคุณใส่ใจรายละเอียด ซึ่งแสดงออกถึงความตั้งใจจริง
9. ฟร้อนต์/ตัวอักษร
ขนาดและฟร้อนต์สวย ๆ เก๋ ๆ อาจจะเหมาะสมกับบางตำแหน่ง แต่ถ้าตัวอักษรที่เป็นที่นิยม และไม่ว่างานไหนตำแหน่งไหนก็รอดนั้นมีอยู่ไม่กี่แบบ และขนาดของตัวอักษรก็สำคัญ เพราะถ้าใหญ่ไป เล็กไป มันก็ดูไม่ Make sense ควรดูองค์ประกอบรวม ภาพรวมตามความเหมาะสม
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
- ไม่ควรใส่จุดประสงค์ในการสมัครงาน
- ไม่ควรเขียนทักษะและประสบการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานที่จะสมัคร
- ไม่ควรใส่ชื่อเจ้านายเก่า
- ไม่ควรใส่กราฟฟิกเยอะเกินไป เพราะระบบ AST จะอ่านค่าไม่ได้
- ไม่ควรใส่ข้อมูลเกิน 1 หน้า A4