HR & employers | 13 July 2017

“วัฒนธรรมองค์กร” ปรับเปลี่ยนอย่างไร ให้โดนใจคนรุ่นใหม่?

ทุกวันนี้ มีหลากหลายองค์กรที่ต้องการปรับตัวเองให้เข้ากับยุคปัจจุบัน ทั้งเพื่อดึงดูดคนทำงานรุ่นใหม่ หรือเพื่อสร้างประสิทธิภาพให้เท่าเทียมกับบริษัทอื่น หนึ่งในการปรับเปลี่ยนที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลง “วัฒนธรรมองค์กร” ที่ไม่ได้ทำได้ง่ายๆ หรือเกิดขึ้นได้แบบชั่วข้ามคืน

เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในองค์กร ต้องใช้การเคลื่อนไหว ไม่ใช่กฎบังคับ เพราะการเปลี่ยนแปลงไม่ได้มีจุดเริ่มต้นที่การกระทำ แต่เริ่มต้นจากอารมณ์...อารมณ์ที่ไม่พอใจในสิ่งที่เป็นอยู่และอยากเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น เมื่อผู้บริหารบริษัทมีวิสัยทัศน์ที่ดีและเห็นภาพที่ชัดเจนของการเปลี่ยนแปลงที่ตนต้องการ ลองสำรวจคำแนะนำด้านล่างนี้เพื่อนำไปปรับใช้กับองค์กรของคุณ

1. รู้ปัญหา

วางกรอบสถานการณ์เพื่อสร้างอารมณ์และกระตุ้นให้เกินการเคลื่อนไหว ผู้บริหารไม่จำเป็นจำเป็นต้องมานั่งอธิบายว่าทำไมถึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่ควรค่อยๆ ปลูกฝังค่านิยมที่ตนต้องการ กระตุ้นให้พนักงานเห็นค่าของสิ่งที่ตนทำมากกว่าทำเพื่อตัวเองเท่านั้น (เช่น อยากให้บริการที่ดีกับลูกค้า แทนที่จะมองแค่ว่าทำแล้วได้เงินเดือน) เพื่อสร้างคุณค่าให้กับหน้าที่ สร้างความรู้สึกร่วม และมีผลไปถึงผลงานที่ดีในวงกว้าง หรือการใช้สวัสดิการเพื่อเป็นการสร้างวัฒนธรรมสำหรับองค์กร ก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่ง

2. ผลลัพธ์จับต้องได้

แสดงผลลัพธ์ในแง่บวกเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนที่สนใจแต่ยังไม่เข้ามามีส่วนร่วม และไม่เพียงแต่ประกาศความเปลี่ยนแปลงที่ผู้บริหารอยากเห็น แต่พยายามทำให้พนักงานคนอื่นๆ เห็นถึงตัวอย่างของการกระทำที่บริษัทต้องการจะเห็น เช่น ชื่นชมหรือสร้างผลงานที่ดี

3. สร้างเน็ตเวิร์ก

เชื่อมต่อคนหลายกลุ่มจากหลากลักษณะงานเพื่อแบ่งปันจุดมุ่งหมายร่วมกัน รวมไปถึงการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเพื่อกระจายไอเดียและเผยแพร่ผลลัพธ์ของไอเดียนั้น ผู้บริหารไม่ควรซ่อนตัวอยู่ในมุมมืดแล้วค่อยออกมาประกาศสโลแกน แต่ควรเข้ามามีส่วนร่วมและกระตุ้นให้คนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้างความรู้สึกอยากเห็นผลลัพธ์ที่ดีร่วมกัน

4. สร้างสภาพแวดล้อม

การสร้างสภาพแวดล้อมก็เหมือนกับการเคลื่อนไหวทางสังคมที่แต่ละกลุ่มจะต้องมี “พื้นที่ปลอดภัย” ไว้ให้สมาชิกสร้างกลยุทธ์และถกเรื่องเทคนิค ผู้บริหารควรสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร เช่น สนับสนุนไอเดียที่แตกต่าง หรือชื่นชมการปฏิบัติงานที่รวดเร็ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่พนักงานใช้ตัดสินใจว่าจะอยู่ต่อหรือลาออก

5. สร้างสัญลักษณ์

สร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวและเพิ่มความเข้าใจในจุดมุ่งหมาย ทำให้พนักงานรู้สึกถึงความเป็น “พวกเรา” ในรูปของอัตลักษณ์ของบริษัท สโลแกน คำสัญญา ฯลฯ เพื่อผลักดันให้พนักงานในบริษัทช่วยกันให้ไปถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ และทำให้โลกภายนอกเห็นถึงอัตลักษณ์นั้น

สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้เสมอในการสร้างการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรที่ราบลื่นและไร้ความขัดแย้ง คือผู้นำองค์กรหรือผู้บริหารควรลดการใช้อำนาจให้น้อยที่สุด แม้การอธิบายภารกิจของบริษัทและความชัดเจนในโครงสร้างจะมีความสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือผลของการ “ทำให้เห็น” เพื่อเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงที่ผู้นำอยากให้พนักงานทำตาม

ทั้งหมดทั้งมวลที่ผู้นำต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบกับพนักงานขนาดนี้ก็เพราะ พนักงาน” ถือเป็นทรัพยากรอันมีค่าของบริษัท หากคุณเป็น 1 ใน 7 บริษัทที่ไม่ควรทำงานด้วย เตรียมตัวได้เลย เพราะพนักงานบริษัทคุณมีแนวโน้มที่พร้อมจะ “ลาออกจากองค์กร” ได้เสมอเมื่อพวกเค้ารู้สึกว่าเงื่อนไขต่างๆไม่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์หรือความต้องการ

คำถามก็คือ องค์กรควรรับมือกับปัญหานี้อย่างไร ที่งานนี้มีคำตอบ “Big17: Employee Retention Best Practices”  กิจกรรมล่าสุดจาก AIP Global ที่ได้รวบรวม Guest speaker ระดับท็อปจากองค์กรชั้นนำของเมืองไทย ( แน่นอนว่าคือผู้ที่อยู่ในลิสท์และติดโผ 50 บริษัทที่กลุ่มคนรุ่นใหม่อยากทำงานด้วยมากที่สุดในปีนี้ ) ซึ่งผู้ที่จะมาร่วมพูดคุยและให้คำแนะนำกับเราในหัวข้อ “The GOOD the BAD and the UGLY of H.R.” ได้แก่  

  1. Mr. Pakapak Sangkhasuntorn HR Mgr. Workforce Readiness จาก SCG
  2. Mr. Viranon Futrakul AVP จาก Charoen Pokphand Group 
  3. Khun Renee Visca HR Development Specialist จาก Mitr Pool Group
  4. Khun Kanyarat Watanapongvanich AVP Organization Development จาก DTAC
 
ภายในงานคุณจะได้คำแนะนำและข้อมูลดีๆจากผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์เหล่านี้ในแง่มุมเชิงลึกต่างๆ ทั้งในแง่มุมที่ว่า “ทำไมพนักงานเก่งๆในองค์กรของคุณจึงอยากลาออก” และ “ต้องทำอย่างไรถึงจะหยุดปัญหาเหล่านี้ได้ก่อนจะสายเกินไป?” 
ว่าแล้วก็อย่ารอช้า เข้าไปลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้าออนไลน์ได้เลยที่

https://ticketbox.co.th/event/big17-employee-retention-best-practices-65864/41851

บัตรแบบ Single Ticket ราคา 500 บาท
บัตรแบบ Couple Ticket ราคา 350 บาท
Walk in หน้างาน 700 บาท
***ราคาตั๋วรวมค่าอาหารและเครื่องดื่ม***
งานจะจัดขึ้นในวันพุธที่ 26 กรกฏาคมนี้ ที่โรงแรม Rembrandt ห้องบอลรูมชั้น 3 เวลา 18.00 - 21.30 น.