Job search advice | 12 June 2023

อย่าลืม!! กับคำถามสำคัญที่ควรถามในวันสัมภาษณ์งาน

ก่อนจบการสัมภาษณ์งาน มักจะมีคำถามจากผู้สัมภาษณ์เสมอว่า “มีคำถามอะไรเพิ่มเติมไหม” เป็นประโยคที่ทำให้หลายๆ คนตั้งตัวกันไม่ทัน แต่การที่คุณหยิบยกคำถามมาถามนั้น ไม่เพียงแค่ทำให้คุณได้ข้อมูลของงานและบริษัท แต่ยังเป็นการสร้างโอกาสในการสร้างความประทับใจให้กับ ว่าที่นายจ้างในอนาคตของคุณอีกด้วย

 

สิ่งที่อย่าลืมถามในตอนสัมภาษณ์งาน

1. หน้าที่ความรับผิดชอบและเงื่อนไขการปฏิบัติงาน

ควรเป็นสิ่งที่ต้องศึกษามาก่อนสัมภาษณ์งานจาก Job Description ที่ลงประกาศเอาไว้ แต่ในบริบทนี้ สามารถถามไปถึงรายละเอียดที่มากขึ้น
เพื่อให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้นว่างานนี้เราอยากทำมากน้อยแค่ไหน ตำแหน่งงานในบริษัทที่เราต้องเจอเป็นประมาณไหน ซึ่งในบางตำแหน่งงานนั้นมีหน้าที่รับผิดชอบที่หลากหลาย อีกทั้งยังเป็นการยืนยันกับผู้สัมภาษณ์ว่าถ้าเข้าไปทำงานแล้วได้งานตามที่ตกลงกันไว้อีกด้วย 

 

2. เป้าหมายองค์กร

เพราะเป้าหมายของแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกัน ข้อนี้เป็นสิ่งที่ควรทราบเป็นอย่างยิ่ง เพราะคุณจะได้รู้ว่าที่นี่ “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” สำหรับคุณ หากความสำเร็จที่บริษัทคาดหวังไว้กับพนักงาน ตลอดจนมีแนวทางการวัดผลที่ไม่ตรงกับเรา จะได้ไม่ต้องเสียเวลาตั้งแต่แรก 

 


 

3. วัฒนธรรมขององค์กร

เพราะไม่ใช่แค่องค์กรที่เลือกเรา เราก็เองก็เป็นคนเลือกองค์กรเช่นเดียวกัน การตั้งคำถามนี้จะช่วยให้คุณตั้งทิศทางได้อย่างแม่นยำ เพราะหากคำตอบไม่ตรงกับลักษณะการทำงานของคุณ องค์กรนี้อาจจะไม่เหมาะกับคุณ 

 

4. แผนการพัฒนาพนักงาน

เพราะองค์กรที่เล็งเห็นถึงศักยภาพพนักงานนับว่าเป็นสิ่งที่ดี ถือเป็นประโยชน์ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ทั้งนี้ต้องดูด้วยว่า ทักษะและการพัฒนาขององค์กร ตรงกับความสนใจของเราไหม ถ้าไม่ อาจจะเป็นการฝืนใจและไม่มีความสุขเอาได้

นอกเหนือจากคำถามที่ควรจะเตรียมก่อนสัมภาษณ์แล้วนั้น ก็ควรระวังเรื่องคำพูด หรือการใช้คำที่ไม่เหมาะสมด้วยเช่นกัน เพราะการใช้คำพูดเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญในการเพิ่มโอกาสให้คุณได้งานนั้นๆ เลย

 

 

คำพูดที่ควรหลีกเลี่ยง

1. ข้อมูลส่วนตัวที่ไม่จำเป็น

การสร้างความประทับใจระหว่างการสัมภาษณ์เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะใช้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นกับงาน

  • งานอดิเรกที่ไม่เกี่ยวข้อง
  • ความชอบจิปาถะ
  • น้ำหนัก ส่วนสูง

2. เรื่องที่เป็นแง่ลบเกี่ยวกับนายจ้างคนเก่าหรือบริษัทก่อนหน้า

ควรหลีกเลี่ยงการพูดเชิงลบเกี่ยวกับนายจ้างเดิม ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แบบใด คำตอบในเชิงบวกจะทำให้ผู้สัมภาษณ์ะทำให้ผู้สัมภาษณ์รู้สึกมั่นใจว่าเราสามารถเข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรได้ดีและไม่พูดในเชิงเสื่อมเสียกับบริษัทหากวันหนึ่งจะต้องลาออกจากบริษัทไป

 

3. ภาษาที่ไม่เป็นมืออาชีพ

การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมรวมถึงภาษาที่ดูไม่เป็นมิตร การพูดจาตลกขบขันที่เกี่ยวกับศาสนา เชื้อชาติ เพศ หรือบางหัวข้อที่กระทบต่อบุคคลบางกลุ่มย่อมไม่ดีต่อการสัมภาษณ์งาน ไม่มีนายจ้างคนไหนที่อยากได้พนักงานที่มีทัศนคติด้านลบมาร่วมงานด้วย
 


 


นอกจากผู้สัมภาษณ์จะตัดสินคุณจากคำถามดังกล่าวแล้ว ยังมีลักษณะนิสัยที่ผู้สัมภาษณ์งานสังเกตคุณ ระหว่างสัมภาษณ์ด้วย ซึ่งสองอย่างนี้สำคัญมาก เพราะเป็นการแสดงถึงตัวตนของคุณและเป็นการทำความประทับใจแรกพบของคุณด้วย

สุดท้ายแล้วเมื่อพูดถึงบริบทของการสัมภาษณ์งานนั้น บางคำถามก็อาจจะพรากโอกาสในการได้งานของคุณไปเลยก็ได้ เพราะมันแสดงถึงการไม่เตรียมตัวในการที่จะเข้าทำงาน ดังนั้นควรจะศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับนายจ้างหรือผู้สัมภาษณ์งาน และบริษัทก่อน เพื่อความเป็นมืออาชีพและสามารถเข้าใจในเนื้องานเบื้องต้น