คำแนะนำด้านอาชีพ | 15 August 2022

ตอบคำถาม "แนะนำตัวเอง" ยังไงให้ได้งานแบบสวยๆ


"เอาล่ะ ช่วยแนะนำตัวให้เราฟังหน่อย"

คำถามสุดคลาสสิกที่ทุกคนต้องเจอเวลาไปสัมภาษณ์งาน แต่คำถามง่ายๆนี่แหละที่ทำให้ผู้สมัครหลายคนหนักใจ เพราะคิดไม่ตกว่า ควรจะตอบว่าอะไรดี หลายคนอาจคิดว่าการแนะนำตัวให้ HR ประทับใจเป็นสิ่งที่ดี แต่จริงๆแล้วสิ่งที่คุณควรทำคือ การให้คำตอบที่ HR เห็นว่าคุณเหมาะสมกับงานตำแหน่งนี้ต่างหาก
 


สูตรง่ายๆที่จะช่วยให้คุณสามารถแนะนำตัวเองได้อย่างชาญฉลาด และโกยคะแนนจาก HR ไปครองก็ คือ #สูตรปัจจุบันอดีตอนาคต ก่อนอื่น คุณต้องเริ่มอธิบายสถานะปัจจุบันของคุณซะก่อน ว่าคุณทำงานอะไร ที่ไหน จากนั้นก็เล่าถึงอดีตสักเล็กน้อยว่าคุณได้รับประสบการณ์และทักษะอะไรมาบ้างในงานก่อนหน้า สุดท้าย คุณควรพูดถึงอนาคตสักนิด ว่าทำไมคุณถึงตื่นเต้นกับโอกาสจากงานใหม่ในครั้งนี้  

ส่วนอีกหนึ่งสูตร ที่จะทำให้การแนะนำตัวเองของคุณแตกต่างจากผู้สมัครคนอื่น คือ #สูตร STAR (Situation, Task, Action, Result) ที่ถ้าเอามาใช้ร่วมกับ #สูตรปัจจุบันอดีตอนาคต บอกเลยว่าไปสัมภาษณ์ที่ไหน ก็ได้งานชัวร์ๆจ้า อ่านไปก็อาจจะนึกภาพไม่ออกใช่ไหมล่ะ มาลองดูตัวอย่างการแนะนำตัวโดยใช้สูตร STAR กันเลย

 

ตัวอย่างการใช้สูตร STAR

Situation: สถานการณ์ของคุณ เช่น เป็นหัวหน้านำลูกน้องในทีมจำนวน 10 คน ในโปรเจกเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ที่บริษัท A 

Task: สิ่งที่คุณได้รับมอบหมายให้ทำ เช่น ทำยอดขายมากกว่า 1  ล้านต่อเดือน 

Action: การกระทำของคุณในสิ่งที่คุณได้รับมอบหมาย เช่น วางแผนและแจกจ่ายงานให้คนในทีม ตักเตือนคนในทีมเมื่อจำเป็น 

Result: ขั้นตอนนี้สำคัญที่สุด ผลสำเร็จจากสิ่งมอบหมายที่คุณได้รับ ผู้ที่ได้ฟังจะรู้สึกว้าว! ตอกย้ำว่าคุณสมบัติและความสามารถของคุณนั้นเปี่ยมล้น ยิ่งผลเป็นตัวเลขยิ่งนำคะแนนไปเลย เช่น ท้ายที่สุดแล้วทีมของฉันทำยอดได้ 2 ล้านบาทต่อเดือนในปีที่แล้ว และฉันได้เรียนรู้ที่จะเป็นผู้นำที่ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวและรับฟังผู้อื่นในทีม


 

ตัวอย่างแนะนำตัวเองสำหรับคนมีประสบการณ์: 

"สวัสดีค่ะ ฉันชื่อพรประภา ตอนนี้ฉันเป็นพนักงานบัญชีที่บริษัท A หน้าที่คือดูแลด้านบัญชีให้กับลูกค้า มีประสบการณ์ทำงาน 2 ปี  ฉันดูแลเรื่องภาษี และได้รับมอบหมายให้หาวิธีลดหย่อนภาษีให้ได้มากที่สุด ฉันค้นคว้าหาข้อมูล ลองผิดลองถูก และผลคือฉันลดหย่อยภาษีได้ 2 เท่าของการลดหย่อนปีที่แล้ว ซึ่งบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ทำให้ฉันได้เลื่อนขั้น ฉันได้รับประสบการณ์ก่อนหน้านี้จากบริษัทบัญชีขนาดใหญ่ที่สอนให้ฉันได้เรียนรู้การทำงานมากมาย และฉันคิดว่าเป็นโอกาสที่ดีของการเติบโตอีกก้าว หากได้ใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาในการร่วมงานกับบริษัทของคุณ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมฉันจึงตื่นเต้นกับโอกาสนี้ที่องค์กรของคุณมอบให้
 

ตัวอย่างแนะนำตัวเองสำหรับคนจบใหม่: 

"สวัสดีค่ะ ฉันชื่อพรประภา ตอนนี้ฉันกำลังหางานในด้านบัญชีอยู่ ฉันจบการศึกษาจากคณะบัญชี มหาวิทยาลัย A ค่ะ ในรั้วมหาวิทยาลัยฉันได้มีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมนอกเวลาเรียน และ เป็น ผู้ช่วยดูแลการเงินของชมรม B ฉันได้มีส่วนร่วมในการทำ budget และ การหาสปอนเซอร์ 6 รายในหนึ่งเทอม ฉันอนุมัติรายจ่ายตามความเห็นสมควร และ หาสปอนเซอร์ได้ 7 รายที่พร้อมจะช่วยเหลือเป็นจำนวน 2 หมื่นบาทต่อราย โดยการติดต่อโดยตรงมากกว่า 20 กว่าบริษัท ฉันได้พัฒนาด้านการสื่อสาร และ การดูแลเรื่องตัวเลข จากโอกาสและหน้าที่ที่ฉันได้รับ นอกจากนี้ฉันยังได้มีอกาสไปฝึกงานกับบริษัท B ได้รับผิดชอบหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลบัญชี และมีพี่เลี้ยงคอยดูแลและให้ความรู้ฉัน ฉันจึงเชื่อว่าความสามารถและประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้ฉันเหมาะกับตำแหน่งงานนี้ในบริษัทของคุณ

 


 

จะตอบคำถามหลังจากการแนะนำตัวเอง ยังไงดี? 

เมื่อคุณได้รับคำถามที่ไม่ได้เตรียมคำตอบไว้ล่วงหน้า คุณควรจะรับมือกับมันยังไงดี เพื่อให้เป็นธรรมชาติที่สุด ก่อนอื่นเลยคือ ถอนหายใจลึกๆ และตั้งสติให้ดี แล้วเริ่มทำตามสเต็ปนี้
 

1. ตอบอย่างมืออาชีพ

เพราะสิ่งที่คุณพูดสามารถสะท้อนถึงบุคคลิกภาพและวิธีการคิดได้ เรียบเรียงคำพูดของคุณให้ดีก่อนที่จะตอบไป พยายามปะติปะต่อเรซูเม่กับความสามารถและทัศนคติของคุณให้ได้มากที่สุด ทำให้ HR ได้รู้ว่าคุณคือคนที่ดีที่สุดสำหรับตำแหน่งงานนี้


ตัวอย่างการตอบคำถามที่ดี:

“ปัจจุบันดิฉันเป็นผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล มีประสบการณ์ทำงานทั้งหมด 8 ปี โดยรับผิดชอบงานในทุกๆด้านของฝ่ายบุคคล ตั้งแต่กระบวนการสรรหา เทรนนิ่ง จวบไปจนถึง Benefits ต่างๆทั้งของพนักงานและบริษัท”

ตัวอย่างการตอบคำถามที่ไม่ดี:

“ฉันเกิดที่รัฐมิชิแกน ชอบเลี้ยงแมวมากๆ ตอนเด็กมีความฝันว่าอยากเป็นเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ แต่ตอนนี้ฉันสนใจงานนี้มาก”
 

 

2. ใช้จุดเด่นให้เป็นประโยชน์

อย่าเหมารวมว่าผู้สัมภาษณ์จะอ่านเรซูเม่และรู้ถึงคุณสมบัติที่น่าสนใจของคุณทั้งหมด ดังนั้นคุณควรไฮไลท์จุดแข็งหรือสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกว่าโดดเด่นกว่าผู้สมัครคนอื่นๆในเรซูเม่ด้วย และถึงแม้ HR จะถามถึงข้อด้อยของคุณ คุณควรจะพลิกมันให้กลายเป็นข้อดีของคุณให้ได้ หรือ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแก้ไขปัญหาของคุณ


ตัวอย่างการตอบคำถามที่ดี:

“บางทีฉันเป็นคนมองภาพกว้าง และตกหล่นรายละเอียดเล็กๆน้อยๆในงาน ฉันรู้ตัวและแก้ไขโดยการตรวจสอบอย่างละเอียด 3 รอบก่อนส่งงาน สถิติการทำงานผิดพลาดเพราะไม่ตรวจสอบอย่างละเอียดของฉันลดลงมากถึง 60% เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติปีที่แล้ว”


ตัวอย่างการตอบคำถามที่ไม่ดี:

“ฉันไม่ใช่เป็นคนละเอียด และฉันคิดว่าการทำผิดพลาดเล็กๆน้อยไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร และ เกิดได้กับทุกคน”

ไม่ว่าการสัมภาษณ์ของคุณจะเป็นอย่างไรก็ตาม จงจำไว้เสมอว่าการสัมภาษณ์ที่ดีควรเป็นการสนทนาโต้ตอบกัน ไม่ใช่การการพูดคนเดียว คำตอบของคุณควรเน้นไปที่ทักษะและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสายงานมากที่สุด เพื่อให้ผู้จัดการหรือ HR เล็งเห็นถึงศักยภาพของคุณกับตำแหน่งงานว่ามีความเหมาะสมกันหรือไม่ ที่สำคัญอย่าลืมผ่อนคลาย หรือเล่าเรื่องอื่นๆด้วย เพราะในเรซูเม่ได้บอกข้อมูลเบื้องต้นของคุณไว้แล้ว และอย่าลืมที่จะฝึกฝนการตอบคำถามของคุณอย่างสม่ำเสมอด้วย ขอให้คุณโชคดีกับการสัมภาษณ์ในครั้งนี้ 
 

3. พกความมั่นใจไปด้วย 

อย่างน้อยที่สุดที่คุณจะให้ HR ได้คือความมั่นใจ ความมั่นใจในตัวเองนั้นสำคัญ เพราะจะทำให้พวกเขาเชื่อมั่นได้ว่าพวกเขาสามารถมั่นใจให้คุณทำตำแหน่งที่คุณสมัครมาได้ ยิ้มเข้าไว้ถึงแม้ใจคุณจะเต้นไม่เป็นจังหวะแค่ไหนก็ตาม


 

4. ไม่ลืมที่จะสร้างความประทับใจขณะแนะนำตัวเอง

สร้างประโยคจบคำถามให้น่าประทับใจ ด้วยการบอกว่าเพราะอะไรคุณถึงอยากทำงานที่นี่ ควรตอบให้กระชับ เข้าใจง่าย และไม่พาดพิงถึงงานเก่าที่เคยทำเพราะอาจจะทำให้ HR มองคุณเชิงลบได้

ตัวอย่างการตอบคำถามที่ดี :  

“ฉันโอเคกับงานในปัจจุบันมาก แต่ตอนนี้ฉันพร้อมแล้วสำหรับความท้าทายใหม่ๆ และฉันคิดว่างานที่นี่สามารถตอบสนองความต้องการของฉันได้”

ตัวอย่างการตอบคำถามที่ไม่ดี :

“เพราะระบบการเงินในบริษัทมีปัญหาแทบทุกเดือน ฉันจึงมีความกังวลในความมั่นคงด้านหน้าที่การงานของตัวเอง ฉันจึงตัดสินใจที่หางานใหม่

 

 

ไม่ว่าการสัมภาษณ์ของคุณจะเป็นอย่างไรก็ตาม จงจำไว้เสมอว่า การสัมภาษณ์ที่ดีควรเป็นการสนทนาโต้ตอบกัน ไม่ใช่การการพูดคนเดียว คำตอบของคุณควรเน้นไปที่ทักษะและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสายงานมากที่สุด เพื่อให้ผู้จัดการหรือ HR เล็งเห็นถึงศักยภาพของคุณกับตำแหน่งงานว่ามีความเหมาะสมกันหรือไม่ ที่สำคัญอย่าลืมผ่อนคลาย หรือเล่าเรื่องอื่นๆด้วย เพราะในเรซูเม่ได้บอกข้อมูลเบื้องต้นของคุณไว้แล้ว และอย่าลืมที่จะฝึกฝนการตอบคำถามของคุณอย่างสม่ำเสมอด้วย ขอให้คุณโชคดี