เหตุผล 4 ข้อที่คุณไม่ควรรู้สึกผิดเมื่อออกการทำงานที่ไม่ใช่
คุณเคยมีปัญหากับงานแย่ๆ จนอยากออกมาหางานใหม่ แต่ก็ไม่กล้าออกเพราะว่าสงสารหรือว่าเกรงใจคนอื่นๆ หรือไม่? เชื่อว่าหลายๆ คนคงได้รับการบอกมาว่าคนที่ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องอดทน ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค ต้องมองโลกในแง่ดี ทำให้ไม่กล้าเปลี่ยนงาน WorkVenture อยากแนะนำถึงเหตุผล 4 ข้อที่ว่าทำไมการที่คุณจะหนีออกมาจากสถานการณ์แย่ๆ ที่อยู่ตรงหน้าจึงไม่ใช่เรื่องผิด
1. คุณจะได้ไม่ต้องเสียเวลาและพลังงานอีกต่อไป
คิดเสียว่าประสบการณ์ที่ไม่ดีนั้นจะทำให้คุณได้เรียนรู้ และนำพาคุณไปสู่การค้นพบตัวเองและสิ่งที่ดีกว่า และเพื่อพบเจอสิ่งใหม่ ๆ ที่ตรงกับคุณมากกว่า เช่น คุณอาจจะอยากลาออกจากงานหลังจากทำมาได้ 3 เดือน เพราะว่าคุณรู้สึกไม่ค่อยถนัดงานนั้นเป็นอย่างมาก หรือคุณอาจจะเบื่อกับงานเพราะได้เงินเดือนน้อย จึงอยากออกไปเพื่อหาอะไรใหม่ๆ
หากคิดเช่นนี้แล้ว คุณจะเสียเวลาอีกเป็นปี ๆ ไปกับงานหรือสิ่งที่ไม่ทำให้คุณมีความสุขเพื่ออะไร? การเอาตัวรอดออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้คุณรู้สึกไม่ดีย่อมดีกว่าแน่นอน เช่น สถานการณ์ที่คุณรู้สึกว่าไม่ได้ช่วยให้คุณเติบโต ไม่ได้เรียนรู้อะไรมากขึ้น หรืองงานที่ทำแล้วสุขภาพจิตเสีย แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะออกไปจากจุดที่รู้สึกไม่ดีเหล่านั้น คุณต้องพยายามเข้าใจตัวเองและหาตัวเลือกที่ “ใช่” ให้เจอเสียก่อน เพราะไม่เช่นนั้นคุณอาจจะสับสนในตัวเองระหว่างการออกมาค้นพบตัวเองกับการเป็นคนไม่อดทน และในการหางานใหม่ เราก็แนะนำให้อ่านรีวิวของบริษัท ที่เป็นประสบการณ์ตรงจากพนักงานจริง ๆ และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทก่อน เพื่อให้ทราบก่อนว่าบริษัทนั้นเหมาะสมกับเราไหม
2. คุณซื่อสัตย์กับตัวเอง
หลายคนอาจเลือกที่จะอดทนกับงานที่ไม่ได้ทำให้ตัวเองรู้สึกดี ด้วยเหตุผลต่าง ๆ มากมาย เช่น มีความรู้สึกผิดที่หนีเอาตัวรอดไปคนเดียว ปัญหาด้านการเงิน หรือแม้แต่เสียดายเวลา ถึงเหตุผลเหล่านี้มันจะมีน้ำหนัก แต่เมื่อถึงที่คุณเริ่มรู้สึกไม่ไหว คุณจะต้องพยายามคิดถึงมุมมองที่กว้างมากขึ้นว่าเหตุผลที่ยังรั้งคุณไว้อยู่นั้นยังมีน้ำหนักมากพอที่จะทำให้คุณไปหรือไม่ เพราะหากคุณทนต่อไปคุณก็อาจจะเริ่มรู้สึกซึมเศร้าและเสียดายโอกาสที่ไม่ได้ออกไปเจออะไรดี ๆ
คุณอาจจะคิดว่า คุณต้องอยู่ที่นี่ให้ครบปีเพื่อจะได้บอกว่าตัวเองมีประสบการณ์ในการทำงาน หรือ พ่อแม่จะต้องเสียใจแน่ๆ ถ้าคุณต้องออกจากงานมาขอเงินท่านใช้อีก แต่ลองซื่อสัตย์กับตัวเองและถามคำถามเหล่านี้ดู เพราะการถามคำถามที่เป็นเหตุเป็นผลพวกนี้จะช่วยให้คุณได้มุมมองที่ชัดเจนและสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น
-
คุณได้ประสบการณ์อะไรจากที่ทำงานที่นี่?
-
ประสบการณ์จากที่นี่จะช่วยพัฒนาคุณให้ดีขึ้นทั้งด้านงานและด้านชีวิตส่วนตัวไหม?
-
คุณทนกับสถานการณ์แย่ ๆ พวกนี้เพื่อตัวคุณเองหรือเพื่อคนอื่น?
-
เหตุผลที่คุณยังทนอยู่นั้นมันเป็นเหตุเป็นผลจริง ๆ หรือเปล่า หรือเป็นแค่ความเชื่อที่มาจากความกลัวหรือความรู้สึกผิดเท่านั้น?
-
คุณสามารถไปหาสถานการณ์ที่ดีกว่านี้ได้ไหม?
-
คุณอยากจะได้อะไรใหม่ ๆ หรือเปล่า?
-
คุณจะทำร้ายใครหรือทำให้ใครผิดหวังไหมถ้าคุณตัดสินใจออกมาลองอะไรใหม่ ๆ?
3. คุณยังค้นหาตัวเองอยู่
ถ้าคุณยังไม่รู้ว่าตัวเองอยากทำอะไรจริง ๆ จงคิดว่าไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับการค้นหาอะไรที่จะมาเติมเต็มชีวิต คุณก็อาจจะเริ่มจากการลองทำอะไรหลายๆ อย่างไปพร้อม ๆ กัน เพื่อเก็บเกี่ยวบทเรียนจากประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาแล้วใช้ให้เป็นประโยชน์ คุณอาจจะลองมองสถานการณ์ที่ไม่ค่อยดีที่อยู่ตรงหน้าให้เป็นโอกาส เผชิญหน้ากับอุปสรรคด้วยวิธีที่ชาญฉลาดและมีระเบียบเพื่อที่คุณจะได้ไม่หลงทาง ต้องมองให้เห็นว่าคุณอยากจะเป็นอะไร จากนั้นก็ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน และจดออกมาเป็นขั้นตอนไปได้เพื่อที่จะไปอยู่ในจุดนั้น มีสติและตั้งใจกับทุกๆ สิ่งที่คุณเลือก อย่าเพิ่งหมดไฟกับกับสถานการณ์แย่ ๆ ค่อย ๆ คิดแล้วหาทางออก
4. เมื่อคุณอยู่ในตำแหน่งที่ใช่ คุณจะรู้เอง
บางคนหลังจากได้ทำอะไรหลายอย่างก็ “เพิ่งได้รู้” ว่าอะไรที่ใช้สำหรับตัวเอง ถ้าเพื่อนของคุณเจองานในฝันภายในเวลาไม่กี่เดือน ในขณะที่คุณทำงานมาหลายปีแล้วยังไม่เจอสิ่งที่ใช่สำหรับตัวเองเลย ขอให้คิดเสียว่าเวลาของแต่ละคนนั้นมาไม่พร้อมกัน บางคนต้องทำหลายอย่างเพื่อจะได้รู้ว่าตนเองนั้นชอบอะไร แต่สำหรับบางคนแล้วทำงานแรกก็ค้นพบว่าเป็นงานที่ใช่ ที่เหมาะสมสำหรับตัวเองเลย แต่ทั้งนี้ต้องลืมว่าเมื่อคุณจะเจอสิ่งนั้นแล้ว คุณจะต้องมั่นฝึกฝนเพื่อทำให้สั่งนั้นกลายเป็นสิ่งที่ใช่มากยิ่งขึ้นด้วย เพื่อให้คุณกลายเป็นคนที่เก่งในสายงานนั้นจริง ๆ
การที่เราบอกว่า “เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วที่จะพาตัวเองออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกไม่ดี” นั้นอาจจะตรงข้ามกับทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณเคยเรียนรู้มาหรือทำให้คุณต้องออกจาก Comfort Zone ของคุณอาจจะทำให้คุณไม่สบายใจ แต่ถ้าคุณต้องแน่ใจว่าตัวเองออกจากจุดนั้นมาด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง ก็จงเชื่อมั่นในการตัดสินใจของตัวเอง และมั่นพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับการพัฒนาตัวเองเพิ่มเติมได้ที่นี่