คำแนะนำด้านอาชีพ | 30 April 2019

พิชิตงานในฝันไปกับเหล่า Job Seeker

สวัสดี เหล่าผู้หางานทั้งหลาย รู้นะว่ากำลังต้องการความช่วยเหลืออยู่  อยากบอกว่า..คุณมาถูกที่แล้วล่ะ !!

เพราะเรามีทุกคำถามที่คุณปรารถณา ทั้งตัวอย่างเรซูเม่ จดหมายแนบ และเทคนิคการสัมภาษณ์ รับรองได้เลยว่าคุณจะไม่ผิดหวังแน่นอน



Chapter 1:
สร้างจรวดมุ่งสู่งานที่มั่นคง

การหางานนั้นเป็นเรื่องอยากแม้คุณจะมีจุดมุ่งหมายที่มั่นคง ไม่ต้องพูดถึงเมื่อคุณยังไม่มีเป้าหมายนั้นนะ การคิดว่าจะทำอะไรเพื่อเลี้ยงชีวิตนั้นเป็นเรื่องยากมากทีเดียว  “ทุกคนมีความเก่งกาจเฉพาะตัว” (รวมถึงคุณด้วย)  และไม่ว่าคุณจะหลงทางในการทำงาน หรือกำลังตัดสินใจที่จะเปลี่ยนงาน ไม่ต้องห่วงเรามาช่วยคุณแล้ว 
 


หากคุณกำลังรู้สึกหลงทาง ไม่รู้ว่างานอะไรกันแน่ที่คุณกำลังมองหา  

เราขอแนะนำว่าให้ค้นคว้าและเขียนรายชื่องานที่คุณชอบ มันช่วยได้มากหากคุณมีสิ่งที่คุณอยากทำจริง ๆ ลองสร้าง Mind Map ของตัวเอง จากนั้นใส่สิ่งที่คุณเชี่ยวชาญใส่ลงไป อาจจะเป็นนิสัยและบุคลิกส่วนตัว เมื่อเสร็จแล้ว วิเคราะห์และพัฒนาสิ่งที่คุณใส่ลงไปซะ อ๋อ! และอย่าลืมประสบการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ที่คุณเคยทำด้วยล่ะ มันช่วยได้มากเลยล่ะ 


ถ้างานของเราไม่เกี่ยวกับสิ่งที่เราเรียนมาเลย ทำยังไงดี ?  

หากคุณเป็นนักศึกษาจบใหม่ ไม่มีประสบการณ์ทำงาน ขอแนะนำว่าคุณต้องพัฒนาตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  ซึ่งมันเป็นเรื่องง่ายในการสร้างประสบการณ์อะไรซักอย่าง เรียนรู้ทักษะผ่านการอ่าน ฝึกงานซักงานสองงาน ทำจิตอาสาซักหน่อย งานอิสระซักนิด ซึ่งมันก็เป็นเรื่องง่ายจริงๆ นั้นแหละ เพียงแค่ทำสิ่งง่าย ๆ เหล่านี้คุณก็จะมีประสอบการณ์ไว้ประกอบเรซูเม่คุณแล้ว 
 


แล้วเราจะหางานได้จากไหน  

ในอินเตอร์เน็ตมีงานเป็นจำนวนมากรอคุณอยู่ เข้าไปหาพวกมันสิ ตั้งแต่ในเว็บหางานจนถึงเว็บไซต์ของบริษัทเอง หากพวกเขาไม่มีงานในนั้น ลองส่งอีเมล์ไปหาพวกเขาดูว่าคุณสนใจ หากคุณต้องการที่จะทำงานสายตรงกับที่คุณเรียนมาก ลองไปถามแผนกแนะแนวของมหาวิทยาลัยหรือคณะของคุณดูสิ หรือถามหาคำแนะนำจากอาจาร์ยของคุณก็ได้ เพื่อนฝูง พี่น้องก็เป็นวิธีที่ดี ลองถามพวกเขาดู


Chapter 2 :
ไม่ลืมสร้างเรซูเม่ที่สมบรูณ์แบบ  

เรซูเม่ก็เปรียบเหมือนตัวแทนของเราในการแนะนำตนเองให้แก่เหล่านายจ้างทั้งหลาย ถึงอย่างนั้น หลาย ๆ คนก็ยังคงปวดหัวกับการสร้างเรซูเม่ แต่ไม่ต้องกังวลไป !! คุณแค่ต้องทำตามคำแนะนำของเราเท่านั้น แล้วการเขียนเรซูเม่ของคุณจะมีความสุขขึ้นมาทันที    
 


เรซูเม่ของเราควรจะยาวแค่ไหนกัน ?  

มันไม่มีคำตอบที่แน่นอนหรอก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ประสบการณ์ ขอบเขตงาน ประเทศที่จะไปทำงาน ฯลฯ   ซึ่งในปัจจุบัน เรซูเม่เพียงหน้าเดียวก็สามารถทำให้คุณโดดเด่นกว่าใครเพื่อนได้แล้ว เพราะอะไรรู้ไม่ ก็เพราะเหล่าคนคัดเลือกไม่มีเวลามากพอที่จะดูเรซูเมหลายๆหน้ายังไงล่ะ ที่สำคัญนะ พวกเขามีเรซูเม่อีกเป็นร้อยที่ต้องจัดการ ถ้าหน้าแรกของคุณไม่โดนใจพวกเขา มันก็แน่นอนว่าพวกเขาก็มักที่จะไม่อ่านส่วนเหลือของคุณ   โดยเฉลี่ยแล้ว คุณมีเวลาเพียง 6 วินาที ที่จะจับความสนใจพวกเขา คุณต้องเคลียร์และแน่นอน ใส่ไปแน่ข้อมูลที่น่าสนใจที่สุดเท่านั้น คุณยังสามารถให้ข้อมูลอื่น ๆ ได้ในตอนสัมภาษณ์ แต่ไม่ใช่ตอนนี้ !!   หากคุณมีข้อมูลที่คุณคิดว่าน่าสนใจเป็นจำนวนมาก อย่าบีบมันให้เหลือตอนนิดเดียว หรือเขียนติดกันเป็นไม้กระดาน   ข้อมูลพื้นฐานที่คุณควรมีคือ ข้อมูลติดต่อ ประวัติความสำเร็จต่าง ๆ การศึกษา ประสบการณ์ จิตอาสา ทักษะ และรางวัลต่าง ๆ 


เราควรที่จะตกแต่งเรซูเม่อย่างไรดีล่ะ ? 

คำตอบนั้นมีสองด้าน โครงสร้างและรูปแบบ   โดยปกติหากคุณใส่ข้อมูลติดต่อและประวัติไว้ด้านบน ตามมาด้วยประสบการณ์ต่าง ๆ ประสบการณ์ที่น่าสนใจที่สุดควรที่จะมาก่อน และไล่ลงมาตามการเกี่ยวข้องของงาน สิ่งควรรวมถึงการศึกษาและทักษะต่าง ๆ ของคุณด้วย  ในส่วนของรูปแบบ ให้ลืม Microsoft Word ไปได้เลย มันไม่ใช่ไม่ดี คุณสามารถสร้างเรซูเม่สุดสวยได้โดยใช้ Microsoft Word แต่มันต้องแลกมาด้วยเวลา และทักษะในการใช้มัน ทางที่ดีลองใช้โปรแกรมสร้างเรซูเม่สำเร็จรูปอย่าง Kickresume ง่ายและจบ 
 

เราควรใช้คำแบบไหนดีล่ะ ? 

ระวังการใช้คำของคุณให้ดี คำเก่า ๆ ที่เคยฮิตเมื่อสมัยคุณพ่อจีบคุณแม่ควรจะหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด ในปัจจุบันมีคำหลายคำที่จะทำให้คุณดูเป็นผู้เชี่ยวชาญได้  ลองหาคำเหล่านั้นจากคำอธิบายงานดูสิ ลองอ่านมันหลาย ๆ ครั้ง หา Keyword และใช้มันซ้ำ ๆ ในเรซูเม่ของคุณ มันจะทำให้ผู้อ่านจับคำเหล่านั้นได้ รวมถึงโปรแกรมที่คอยกรองเรซูเม่เหล่านั้นด้วย  โดยโปรแกรมเหล่านี้มักถูกใช้ในบริษัทใหญ่ ๆ เพื่อกรองเรซูเม่โดยดูจาก Keyword เป็นหลัก 

คำแบบไหนที่ห้ามใส่ในเรซูเม่

คำบางคำก็ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะคำที่ถูกใช้มากๆจนดูน่าเบื่อ (ทำงานหนัก, มีความคิดสร้างสรรค์, มีความทะเยอทะยาน)  คำเหล่านี้ไม่ได้บอกอะไรเกี่ยวกับตัวคุณเลย

เราควรใส่จุดมุ่งหมายในอาชีพไว้ด้วยรึเปล่า  

อย่างที่เราบอก ทำเรซูเม่ของคุณให้เคลียร์และตรงที่สุด เอาข้อมูลที่ไม่จำเป็นออก รวมถึงจุดมุ่งหมายในอาชีพด้วย มันไม่ช่วยอะไรนอกจากทำให้เรซูเม่ของคุณรกรุงรัง  แต่ !! บางประเทศอย่าง อังกฤษ การใช้จุดมุ่งหมายในอาชีพก็ยังคงจำเป็นอยู่ คุณควรจะใส่มันไว้ก็ต่อเมื่อ คุณไม่มีประสบการณ์ใดๆเลย, คุณเปลี่ยนอาชีพ, หรือคุณมีช่วงว่างงานเป็นเวลานาน 

ถ้าไม่มีประสบการณ์เลย จะทำยังไงดี

นั้นไม่ได้หมายความว่าคุณจะหางานไม่ได้ ลองทำตามคำแนะนำเหล่านี้ดูสิ   ใช้ทักษะของคุณให้เป็นประโยชน์ : ใช้ทักษะที่คุณได้มาในมหาวิทยาลัยหรือจากประสบการณ์ต่าง ๆ ของคุณให้เป็นประโยชน์กับงาน โดยทาง WorkVenture มีระบบอย่าง WorkScore ที่จะช่วยจับความสามารถของคุณกับงานที่ใช่ได้ทันที

 

เขียนสรุปตัวตนของคุณ : เขียนสรุปตัวตนของคุณไว้ในเรซูเม่ ใช้คำที่จับความสนใจ แสดงความทะเยอทะยานของคุณผ่านตัวหนังสือเหล่านั้นซะ  

ทำให้เรซูเม่ของคุณมีความเป็นคุณ : ให้เหล่า HR รู้ว่า ถึงแม้ว่าคุณไม่มีประสบการณ์ บุคลิคของคุณสามารถทดแทนมันได้  

ใส่การฝึกงานและจิตอาสาต่าง ๆ เข้าไป : ทำให้คุณดูมีพลังและความตั้งใจ  

เน้นกิจกรรมต่างๆของคุณ : สิ่งที่คุณทำในเวลาว่างของคุณบ่งบอกในสิ่งที่คุณเป็น ใส่แต่ประการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานเท่านั้นล่ะ  

รูปแบบที่แตกต่าง : ทำให้เรซูเม่ของคุณต่างจากเรซูเม่น่าเบื่อข้าง ๆ ซะ 

รูปสำคัญกับเรซูเม่แค่ไหน 

ผู้เชี่ยวชาญหลายๆ คนมองว่าจะเป็นการดีซะกว่าที่ไม่ใส่รูปในเรซูเม่ของคุณ แต่หากงานของคุณต้องพึ่งรูปร่างหน้าตาของคุณหรือเป็นสิ่งที่คนในประเทศนั้น ๆ ทำกันอยู่แล้ว คุณก็ควรจะใส่รูปลงไปด้วย  ประสบการณ์ ทักษะและความรู้ คือสิ่งที่จะพูดแทนตัวคุณ ไม่ใช่หน้าตา เพราะเหล่า HR จะเลือกที่จะมองแต่สิ่งเหล่านี้ รวมไปถึงสิ่งที่คุณจะนำมาให้บริษัทเท่านั้น ส่วนเรื่องรูป.. เหล่า HR เขาก็ต้องเห็นรูปของคุณจากอินเตอร์เน็ตอยู่แล้วล่ะ 
 

หากเราต้องการสมัครงานในต่างประเทศล่ะ ? พวกเขาเขียนเรซูเม่ต่างจากพวกเรารึเปล่า ?  

คุณควรที่จะค้นคว้าว่าประเทศที่คุณต้องการสมัครงานพวกเขาต้องการเรซูเม่แบบไหน เพราะเรซูเม่ที่อาจทำให้คุณได้งานในประเทศนี้ อาจถูกทิ้งในอีกประเทศนึงก็ได้ 
 

เราให้คนตรวจเรซูเม่ให้ดีรึเปล่า ?

เป็นความคิดที่ดีที่จะให้เพื่อนของคุณดูเรซูเม่ของคุณและวิจารณ์มันอย่างจริงจัง แม้ว่าความจริงมันอาจเจ็บปวดก็ตาม   แต่..ถ้าคุณไม่มีเพื่อน ลองให้อาจาร์ยของคุณตรวจดูสิ หรือจะใช้บริการเว็บไซต์อย่าง Kickresume ก็ยังได้ 


เราให้คนตรวจเรซูเม่ให้ดีรึเปล่า ?

เป็นความคิดที่ดีที่จะให้เพื่อนของคุณดูเรซูเม่ของคุณและวิจารณ์มันอย่างจริงจัง แม้ว่าความจริงมันอาจเจ็บปวดก็ตาม แต่..ถ้าคุณไม่มีเพื่อน ลองให้อาจาร์ยของคุณตรวจดูสิ


เราไม่ควรใส่สิ่งใดไว้ในเรซูเม่

  • คำเชย ๆ
  • จุดมุ่งหมายในอาชีพ
  • ไวทยากรณ์ผิด ๆ
  • รูปของคุณ (ประเภทเซลฟี่นี่ยิ่งแล้วใหญ่เลย)
  • “ข้อมูลอ้างอิงเมื่อต้องการ”
  • สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้อง
     


Chapter 3 :
รู้จักพลังของจดหมายแนะนำตัว 

จดหมายแนะนำตัวบอกตัวตนและความสามารถของคุณแก่เหล่า HR ได้เป็นอย่างดี แต่การเขียนมันยังเป็นประสบการณ์ที่น่าทรมานไม่น้อยทีเดียว  ภายใน 500 คำ คุณต้องจับความสนใจของเหล่า HR ให้ได้ บอกว่าทำไมคุณต้องการงานนี้ ทำให้พวกเขาเห็นว่าคุณเป็นผู้สมัครที่ดีที่สุด หากเขียนดี มันสามารถทำให้คุณได้งานของคุณได้ทันที 


จดหมายแนะนำตัวควรจะยาวแค่ไหนล่ะ

 ตามมาตรฐาน ไม่ควรที่จะยาวเกิน 1 หน้าและไม่เกิน 500 คำ สิ่งที่คุณต้องทำคือบอกให้มากที่สุด โดยใช้คำให้น้อยทีสุด และเหล่า HR ไม่ชอบอ่านตัวหนังสือยาว ๆ แบ่งย่อหน้ามันซะ  

เราควรจัดรูปแบบมันอย่างไรดีล่ะ ?  

แนะนำตัว : นี่คือจุดที่คุณจะใช้จับความสนใจของเหล่า HR และทำให้พวกเขาอ่านต่อไป หลีกเลี่ยงประโยคเช่น “มาสมัครงานในตำแหน่ง….” หรือ “สนใจงานนี้เพราะ….” บอกตรง ๆ ไปเลยว่าคุณต้องการอะไร เช่น “เราอยากทำงานในบริษัท….. เพราะเชื่อว่าความหลงใหลของฉันนั้น (ทักษะที่เกี่ยวกับงาน) จะเหมาะสมกับบริษัทนี้”  

เนื้อหา : นี้คือส่วนที่คุณต้องใส่มันให้หมด อ่านความอธิบายงาน หาทักษะที่คุณเชี่ยวชาญ หลังจากนั้นทักษะขอคุณจากมหาวิทยาลัย ทำให้พวกเขารู้ว่าคุณทำอะไรให้พวกเขาได้ ทำการเขียนของคณให้เหมาะกับตำแหน่งของคุณด้วย  

บทสรุป: บอกเขาว่าประสบการณ์และทักษะของคุณทำให้คุณกลายเป็นผู้สมัครที่ดีที่สุดได้อย่างไร และทิ้งท้ายว่า “หวังว่าเราจะได้ร่วมงานกันในอนาคต” โดยเสริมในเรื่องของความทุ่มเทและมั่นใจไปด้วย 

เราควรใช้คำไหนในจดหมายแนะนำตัว ?  

อย่าใช้คำซ้ำกับเรซูเม่ของคุณ พยายามใช้คำที่อยู่ในความอธิบายงาน อย่าลืมใช้คำที่ทันสมัยและแบ่งย่อหน้าด้วยล่ะ น้นรวมถึงคำที่แสดงถึงควาหลงใหลและกระตือรื้อร้นของคุณเช่น “แรงบันดาลใจ” “ตื้นเต้น” ฯลฯ  

เราไม่ควรใช้คำไหนในจดหมายแนะนำตัว ?  

อย่างที่เราบอก หลีกเลี่ยงคำเชย ๆ ซะ หยุดใช้คำว่า “เป็นคน Active” “เป็นคนทำงานหนักและมี Can do attitude” และ “เป็นคนคิดนอกกรอบ” หลีกเลี่ยงการใช้คำเช่า “ดีที่สุด” เพราะมีคนอีกเป็นล้าน ๆ ที่ใช้คำนี้และมันไม่ได้บอกอะไรเกี่ยวกับคุณเลย อีกอย่างมันทำให้คุณดูหยิ่ง หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “คิดว่า”  “เชื่อว่า” และ “รู้สึกว่า” มันทำให้รู้สึกว่าคณไม่มั่นใจ บอกเขาตรง ๆ ไปเลย  

มี 4 อย่างที่คุณควรจำเอาไว้เมื่อเขียนจดหมายแนะนำตัว  

  • สร้างมันให้เหมาะกับงานแต่ละตำแหน่ง  
  • หลีกเลี่ยงการใช้คำและไวยากรณ์ผิด ๆ
  • จงอย่าใส่เงินเดือนที่คาดหวังเข้าไป  
  • หลีกเลี่ยงการใช้คำหวือหวาอย่างเช่น “เป็นคนที่ดีและเจ๋งที่สุดที่บริษัทคุณเคยมี
     





Chapter 4 :
ทิ้งเส้นทางติดตามตัวไว้ ผ่านเว็บไซต์ส่วนตัว 

เหล่า HR ในปัจจุบันใช้โปรไฟล์ต่าง ๆ ของคุณในโลกออนไลน์เป็นส่วนนึงในการพิจารณาเช่นกัน ฉะนั้น การมีโปรไฟล์โซเซียลเน็ตเวิร์คสวย ๆ หรือเว็บไซต์ส่วนตัวก็เป็นคามคิดที่ไม่เลวนะ

คำถามแรก..ทำไมเราต้องสนใจสิ่งเหล่านี้

คุณอาจคิดว่าคุณไม่ต้องมีเว็บไซต์ส่วนตัวหรอก โดยเฉพาะเมื่อขึ้นไม่รู้หรือไม่มีประสบการณ์มากพอถึงขนาดต้องใช้เว็บไซต์ทั้งอันในการเก็บมัน อย่างไรก็ตาม การมีมันไว้ทำให้คุณดูดีขึ้นมากทีเดียว   มันเป็นสิ่งที่จะเชื่อมโปรไฟล์ต่าง ๆ ของคุณเข้าด้วยกัน รวมถึงในโซเชียลเน็ตเวิร์คต่าง ๆ หรือเป็นแกลเลอรี่ส่วนตัวของคุณที่คุณใช้แสดงผลงานก็ได้เช่นกัน หรือไม่ก็ลองใช้มันเป็น Digital Business Card ส่วนตัวของคุณก็ได้   ข้อดีที่สุดของมันคือ มันทำให้เรซูเม่ของคุณสั้นและได้ใจความ เพราะคุณสามารถใส่ข้อมูลที่เหลือของคุณไว้ในเว็บไซต์ส่วนตัว 

ข้อดีของการมีเว็บไซต์ส่วนตัว

  • ผู้คนสามารถหาคุณพบได้ง่ายมากขึ้น  
  • ทำให้คุณโดดเด่น  
  • บอก Lifestyle ของตัวคุณเองได้  
  • แสดงทักษะทางคอมพิวเตอร์ของคุณ  

คำถามที่สอง..เราควรและไม่ควรใส่อะไรไว้ในเว็บไซต์ของเราบ้าง?

อย่างแรก คุณต้องมีจุดมุ่งหมายในการสร้างเว็บไซต์ก่อนว่าคุณต้องการอะไร อาจเพื่อแสดงผลงานของคุณ หรือเพื่อใช้เป็น Digital Business Card  หากคุณไม่มีอะไรที่จะใส่ลงไปมากนัก เราแนะนำให้คุณแสดงแค่ข้อมูลติดต่อและเรซูเม่ เป็นรูปแบบของ Digital Business Card แทน   เตือนอีกนิด..อย่าใส่ข้อมูลส่วนตัวและอย่าใส่ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามามากจนเกินไปล่ะ 

หากเราไม่รู้วิธีการสร้างเว็บไซต์ล่ะ  ?

ไม่ต้องห่วง ! ในปัจจุบันมีหลากหลายเว็บไซต์ที่ให้คุณสร้างเว็บไซต์ส่วนตัวของคุณขึ้นมาได้อย่างง่ายดายและสวยงาม
 



Chapter 5 :
Social Media ช่วยได้แต่ต้องระวัง ! 

โซเชียลมีเดียนั้นมีบทบาทที่สำคัญมากในการหางาน เพราะเหล่า Recruiter และ HR ยุคใหม่ต่างก็เข้าไปสำรวจโซเชียลมีเดียของเหล่าผู้สมัครกันเป็นเรื่องปกติ ย้ำว่าเรื่องปกติ ซึ่งมันสามารถเสริมสร้างหรือทำลายภาพลักษณ์ของคุณได้หากคุณไม่ระวังตัวให้ดีพอ 

โปรไฟล์ในอินเตอร์เน็ตแตกต่างจากเรซูเม่ธรรมดาอย่างไร ?

ความเกี่ยวข้อง : โปรไฟล์ในอินเตอร์เน็ตของคุณมีข้อมูลทุกอย่างในการทำงานของคุณ ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับงานนั้น ๆ แต่เรซูเม่นั้นถูกทำมาเพื่อสมัครงานใดงานนึงเท่านั้น  

จุดประสงค์ : โปรไฟล์ในอินเตอร์เน็ตทำให้คุณสามารถติดต่อกับคนที่ทำงานสายเดียวกับคุณได้ แต่เรซูเม่ทำให้คุณได้งาน  

ความซับซ้อน : เรซูเม่นั้นส่วนมากนั้นไม่เกินสองหน้าและมีข้อมูลที่จำกัด ส่วนในอินเตอร์เน็ตนั้นมีข้อมูลเป็นจำนวนมาก เช่น คนที่ติดต่อด้วย บทความที่คุณเขียน วีดีโอและลิงค์ที่คุณแชร์ ฉะนั้น โปรไฟล์ในอินเตอร์เน็ตให้ข้อมูลและประสบการณ์มากกว่าเรซูเม่มาก

เราควรเพิ่ม Social Media ไว้ในเรซูเม่ไหม ?  

หากโปรไฟล์ของคุณเหมาะสม คุณอาจใส่มันไว้ในเรซูเม่ของคุณได้ แต่คุณควรที่จะหลีกเลี่ยง Social Media อื่น ๆ เนื่องจากมันเต็มไปด้วยข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องมากเกินไป คุณสามารถใส่เจ้าพวกนี้ได้ตามต้องการหากคุณมีเว็บไซต์ส่วนตัว  เราควรตรวจสอบ Social Media ของเราก่อนที่จะสมัครงานหรือเปล่า ?   แน่นอน ! การมีสิ่งที่ไม่เหมาะสมในโซเชียลมีเดียอาจทำลายชื่อเสียงของคุณได้ ลบพวกมันซะ แม้ว่ามันจะเต็มไปด้วยความทรงจำก็ตาม เชื่อเราเถอะ !
 



Chapter 6 :
ก้าวสุดท้ายก่อนการสัมภาษณ์งานจริง! 

หลังจากคุณสมัครงาน แน่นอนว่าจะมีบริษัทต่างๆโทรมาหาคุณเพื่อเชิญไปสัมภาษณ์ อย่าตื่นเต้นตกใจไป เพราะตัวช่วยดีๆอยู่นี่แล้ว !

อย่าลืมหารายละเอียดของบริษัทที่ต้องไปสัมภาษณ์

 ทำให้เขาเห็นว่าคุณเข้าใจในบริษัทนั้นและคุณมีบุคลิกที่เหมาะกับพวกเขา

ค้นคว้าเกี่ยวกับสินค้าของพวกเขา แสดงความสนใจของคุณออกมา ค้นคว้าประวิติความสำเร็จของพวกเขา
 


สัมภาษณ์ทั้งที..เตรียมตัวอย่างไรดีนะ?  

ฝึกซ้อมการพูดและภาษากายของคุณ : ไม่ว่าจะเป็นหน้ากระจกหรือกับคนอื่นก็ดีทั้งนั้น และไม่ลืมที่จะแสดงจุดแข็งของคุณออกมา  

รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับตำแหน่งที่คุณจะทำ : รู้ว่าทักษะของคุณมีประโยชน์อย่างไรในตำแหน่งนั้น  

หาคำตอบของคำถามที่พบบ่อย ๆ : รวมถึงเตรียมคำถาของคุณเองด้วย  

ทำให้แน่ใจว่าคุณรู้จักคำที่ใช้กันในงานนั้นๆที่คุณสนใจ : ศึกษาคำที่คนทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ เขาพูดกัน
 


ชุดแบบไหนถึงเวิร์ค ไม่ถูกมองแรง  

HR จะตัดสินคุณเบื้องต้นจากภายนอกนี่แหละ ดังนั้นแล้วลองหาข้อมูลเกี่ยวกับการแต่งกายของบริษัทนั้นๆด้วยจะดีมาก

โดยปกติแล้ว การแต่งกายของคุณควรที่จะเหมาะกับวัฒนธรรมของบริษัท บริษัทขนาดกลางหรือใหญ่จะเป็นการแต่งกายแบบทางการ

ในขณะที่บริษัทขนาดเล็กจะไม่ต้องการสิ่งนั้น ตำแหน่งงานสำคัญ การแต่งชุดสูทมาสัมภาษณ์งานในตำแหน่งของ Marketing ก็ดูจะแปลก ๆ ซักหน่อย
 



Chapter 7 :
สัมภาษณ์ผ่านฉลุยด้วยกลยุทธ์เด็ด

การสัมภาษณ์เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น แต่อย่าให้ความตื่นเต้นนั้นมาทำลายคุณ มองผู้สัมภาษณ์ ใจเย็น และยิ้มเข้าไว้ อย่าลืม คุณเตรียมตัวมาแล้ว

ตอบคำถามธรรมดาให้ดูพิเศษกว่าคนอื่น

การสัมภาษณ์ส่วนใหญ่ แน่นอนว่าต้องมีคำถามทั่วๆไป ที่ใครๆเขาก็ถามกัน แต่การตอบคำถามถามเหล่านั้นก็สามารถทำให้คุณแตกต่างได้    อะไรทำให้คุณคิดว่าทำให้คุณเหมาะสมกับตำแหน่งดี : ทำให้คุณเห็นว่าไปได้ไกลกว่า Job Requirement  

ทำไมเราถึงต้องจ้างคุณ

 ทำให้เห็นว่าเขาเห็นว่าคุณสามารถทำอะไรให้บริษัทได้บ้าง
 

ใช้จุดอ่อนให้เป็นประโยชน์

 พยายามหาทักษะที่คุณคิดว่าคุณเก่งแต่ไม่มีโอกาสที่จะพัฒนามัน  
 


 

สงสัยอะไรมั้ย มีอะไรอยากถามเพิ่มเติมหรือเปล่า  

คำถามเหล่านี้สามารถบอกถึงความเอาใจใส่และความสงสัยของคุณ   “อะไรที่ทำให้คุณมีความสุขในการทำงานของคุณ”   “บอกถึงอนาคตของเราหากได้เข้าไปทำงาน”   “อะไรคืออุปสรรคที่ยากที่สุดหากเราได้เข้าไปทำงาน”   “คิดว่าเรามีจุดอ่อนอะไรหรือเปล่า”  

คำถามสุดท้าย.. จะต่อรองเงินเดือนอย่างไรดี

หากคุณเป็นเด็กจบใหม่ ควรจะต่อรองไม่เกิน 10% ของเงินเดือนที่ถูกเสนอมา แต่ถ้าหากคุณสัมภาษณ์ในตำแหน่งอาวุโส คุณสามารถเจรจาให้สูงกว่านั้นได้ แต่คุณต้องมั่นใจว่านั่นเป็นสิ่งคุณต้องการจริงๆ
 

 

close
ลงทะเบียนกับ WorkVenture เพื่อค้นหางานใหม่ล่าสุดและอ่านรีวิวบริษัทจากผู้ทำงานจริง