ไลฟ์สไตล์ | 2 October 2015

เป็นเพื่อนกับความไม่แน่นอน

ความไม่แน่นอน คือความแน่นอน และการเติมความไม่แน่นอนเข้าไปบ้างก็ทำให้มีชีวิตชีวามากขึ้นนะคะ ความลับของการใช้ชีวิตก็คือ เรื่องที่มันเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัวนี่แหละค่ะ ที่จะทำให้ชีวิตของเราน่าสนใจ ถ้าคุณเคยอยู่ๆ ก็ตัดสินใจขึ้นรถทัวร์ไปเที่ยวแบบไม่ได้วางแผนอะไรเลย คุณอาจจะเข้าใจมันดีมากขึ้น

 

มีเรื่องสองเรื่องที่จะเกิดขึ้นเมื่อคุณมีทริปแบบ “ปุบปับ” อย่างแรกก็คือ คุณไม่รู้จะคาดหวังอะไร มาตรฐานความคาดหวังของคุณจะต่ำมากและคุณจะยอมรับกับเรื่องต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาได้มากขึ้น และเมื่อคุณจะเปิดใจกับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น คุณก็จะมีความสุขมากขึ้นเช่นกัน อย่างที่สองก็คือ เมื่อเจอกับตัวแปรที่ไม่แน่นอน เราจะพยายามสร้างความคุ้นเคยกับมัน และถ้าความคุ้นเคยมีมากเท่าไหร่ ความสะดวกสบายใจก็จะมีมากเท่านั้น และเราก็สามารถอนุมานเอาได้ว่าความสะดวกสบายใจก็จะนำมาซึ่งความสุข

5 Day Trip Destinations by Train from NYC

ทำไมเราถึงจะต้องหาเหตุผลที่จะทำเรื่องบางเรื่อง เหตุผลที่จะไปในที่บางที่ หรือเหตุผลที่จะเป็นใครซักคน?

 

การเติมความไม่แน่นอนให้กับชีวิตนั้น นอกจากจะดีต่อการเข้าสังคม และสุขภาพจิตของแล้ว มันยังดีต่อสมองของคุณอีกด้วย เพราะจริงๆ แล้ว สมองนั้นเป็นอวัยวะที่ยืดหยุ่น และสามารถปรับเปลี่ยนได้ไปตามสิ่งต่างๆ ที่เราเจอ และเมื่อเวลาผ่านไป ประสบการณ์ต่างๆ ที่เราได้เจอก็จะกลายเป็นอดีต และถ้าเราจะยังเก็บสมองไว้ไม่ให้ได้รับประสบการณ์อะไรใหม่ มันอาจจะเป็นการทำร้ายสมองโดยที่ไม่รู้ตัวก็ได้นะ

 

แล้วจะเติมความไม่แน่นอน ความไม่จำเจให้กับชีวิตได้อย่างไรล่ะ?

 

ถึงแม้ว่ามันจะฟังดูน่าดึงดูดแค่ไหนก็ตาม หลายๆ คนก็คงพบว่ามันยากที่จะหลุดออกมาจากกรอบความคิดหรือความคุ้นเคยของสังคม แต่ถ้าคุณคุ้นเคยกับชีวิตที่น่าตื่นเต้นและตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ รอบตัว มันก็เป็นนิสัยที่ทำยากมากพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีลักษณะนิสัยไม่ชอบเข้าสังคมแบบ introverts และแรกๆ คุณอาจจะรู้สึกเหมือนโดนบังคับ รู้สึกแปลก และอาจจะรู้สึกเครียดเลยก็ได้

 

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มต้นได้ก็ต่อเมื่อคุณลงมือทำ และเพื่อจะช่วยให้มันง่ายขึ้น เรามีวิธีดีๆ มาฝากคุณค่ะ

 

 

1. พิจารณา และทำลายกรอบความเชื่อหรือความคิดแบบเก่าๆ

 

ความคิดแบบเก่าๆ ไม่ใช่แค่เรื่องการเหยียดผิวเหยียดเชื้อชาติ หรือความเชื่อทางศาสนาที่สุดโต่งแต่หาข้อพิสูจน์ไม่ได้เท่านั้นนะคะ กรอบความคิดหรือความเชื่อแบบเก่าๆ คืออะไรก็ได้ที่มันฉุดรั้งคุณไว้ไม่ให้ทำอะไรนอกกรอบนั่นเองค่ะ

 

ถ้าคุณคิดว่าการเปิดประเด็นพูดคุยกับคนแปลกหน้าเป็นเรื่องประหลาดละก็ นั่นก็คือกรอบความคิดแบบเก่าๆ ที่เรากำลังพูดถึง เพราะมันจะทำให้คุณไม่กล้ามองหรือออกไปสำรวจรอบหาวิธีในการทำความรู้จักกับคนๆ นั้น ถ้าคุณคิดว่าการลองทำอะไรใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำจะออกมาล้มเหลวแน่ๆ (เช่น การลองทำอาหารสไตล์ใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคย) นั้นก็คือกรอบความแบบเก่าๆ เช่นกันค่ะ

 

หลายๆ คนหลีกเลี่ยงที่จะลองอะไรใหม่ๆ เพราะพวกเขากลัวความล้มเหลว กลัวความผิดหวัง หรือคิดว่าพวกเขาไม่มีเวลาหรือไม่มีเงินพอที่จะทำมัน แต่เราอยากบอกว่า จริงๆ แล้วสิ่งแรกที่คุณควรจะกลัวก็คือ ความเฉื่อยชา เพราะจริงๆ แล้ว เวลามันก็อยู่ที่การจัดสรร และถึงแม้ว่าจะไม่มีเงิน ประสบการณ์ใหม่ๆ ต่างก็รอให้คุณเรียนรู้อยู่ คุณแค่ต้องหามันให้เจอเท่านั้นเอง

 

2. เรียนรู้ที่จะมองโลกผ่านสายตาของเด็กน้อยไร้เดียงสา

 

ถ้าคุณลองนึกย้อนกลับไปถึงช่วงเวลาที่คุณยังเป็นเด็ก ที่ทุกๆ อย่างรอบตัวคุณนั้นมันดูสนุกและน่าค้นหาไปหมด ความลับในการกลับไปเป็นแบบนั้นก็คือการมองโลกแบบเด็กๆ ที่อยากรู้อยากเห็น

 

แทนที่จะถามคนอื่นๆ ว่า “วันนี้เป็นอย่างไรบ้าง” ตามที่ปกติคุณจะทำ ก็ลองมองดูพวกเขาแบบจริงๆ จังๆ ลองสังเกตสีหน้า ท่าทาง สายตา และให้ความสนใจกับสิ่งที่พวกเขาเป็นและรู้สึกจริงๆ คุณสามารถช่วยอะไรพวกเขาได้ไหม? คุณสามารถเรียนรู้อะไรจากพวกเขาได้บ้าง?

 

อย่าลืมว่า โลกข้างนอกยังมีอะไรที่คุณยังไม่รู้อีกเยอะเลย และ คุณก็ควรจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างน้อยวันละเรื่อง ลองถามคำถามแปลกๆ กับตัวเอง เช่น ทำไมเราถึงอยู่ที่นี่? จักรวาลมันมีกลไลอย่างไร? หรืออะไรประมาณนั้นและถึงแม้ว่าคุณจะหาคำตอบจริงๆ ไม่ได้ก็ตาม ทัศนคติในการ “มองหาเรื่องใหม่” จะทำให้คุณตื่นตัวและพร้อมที่จะเปิดรับโอกาสดีๆ ที่อาจจะผ่านเข้ามา

 

 

3. หยุดเสียเวลา

 

การทำอะไรที่มัน “ปุบปับ” ก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะมีชีวิตที่ยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบนะคะ คุณไม่จำเป็นจะต้องออกจากงาน ออกจากมหาวิทยาลัย เพราะว่าการมีเป้าหมายและมีความฝันก็เป็นเรื่องสำคัญสำหรับสุขภาพจิตของเราเช่นเดียวกัน แต่ที่เราอยากให้ทำก็คือ หยุดใช้เวลาว่างที่คุณมีไปโดยเปล่าประโยชน์กับกิจกรมที่มันไม่สร้างสรรค์และไม่ได้ทำให้ชีวิตดีขึ้น

 

ก่อนที่จะบ่นว่า แค่เรียน/ทำงานก็หมดเวลาไปทั้งวันแล้ว เราอยากให้คุณลองคิดดูนะคะ ว่าในวันๆ หนึ่ง คุณใช้เวลาไปกับการดูทีวี เล่นมือถือ ไปเท่าไหร่? สถิติจาก Neilsen บอกว่า คนอเมริกันใช้เวลาเฉลี่ยต่อวัน 4 ชั่วโมง 32 นาทีไปกับการดูทีวี 2 ชั่วโมง 44 นาทีไปกับการฟังวิทยุ 1 ชั่วโมง 33 นาทีไปกับการเล่นสมาร์ทโฟน และ 1 ชั่วโมง 6 นาทีไปกับการใชช้อินเตอร์เน็ตบนคอมพิวเตอร์ จากสถิติดังกล่าว เราก็พอสรุปได้ว่า คนบางคนก็มีเวลามากกว่าที่เขาคิด แต่เขาแค่มีนิสัยย ติดหน้าจอ ที่ทำให้เวลาในแต่ละวันของเขาหายไปกับกิจกรรมเหล่านี้

 

4. หยุดรอเวลาที่ใช่

 

อุปสรรคอย่างสุดท้ายสำหรับการเติมความไม่แน่นอนให้กับชีวิตก็คือ ความคิดที่ว่า เราต้องรอจนถึงเวลาเสียก่อน เราอาจจะอ้างกับตัวเองว่า มัลดีฟเป็นสถานที่ในฝัน แต่เราจะไปมัลดีฟก็ต่อเมื่อเราลดน้ำหนักได้ 10 กิโลและใส่บิกินี่ได้แบบมั่นใจเสียก่อน หรือ คุณจะเริ่มต้นเขียนนิยายก็ต่อเมื่อคุณเคลียร์งานได้สักอาทิตย์นึง

 

จริงๆ ก็คือ ไม่ว่าคุณจะเริ่มต้นทำสิ่งที่คุณอยากทำในเวลาไหน มันก็เป็นเวลาที่ใช่ทั้งนั้นแหละค่ะ ไม่มีเวลาที่ไม่ใช่สำหรับการหาประสบการณ์ที่แตกต่าง ไม่มีเวลาที่ไม่ใช่สำหรับการเริ่มต้นใช้ชีวิต ดังนั้น ออกมาจากชีวิตเดิมๆ และเรียนรู้ที่จะทำอะไรใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคย เพราะทั้งสมอง ร่างกาย และจิตใจจะขอบคุณคุณ

 

 

close
ลงทะเบียนกับ WorkVenture เพื่อค้นหางานใหม่ล่าสุดและอ่านรีวิวบริษัทจากผู้ทำงานจริง
T50-25-V1-9Sep-WVSite-with email and Rewards,RightSlider 0r Full