ข่าวสารใหม่ๆ | 24 May 2024

ถ้ารู้ 12 ข้อนี้ยังไงก็ได้งาน: เตรียมความพร้อมก่อนการสัมภาษณ์แบบครอบคลุมทุกมิติที่คุณควรรู้

คุณรู้ไหม? กุญแจสู่ความสำเร็จในการสัมภาษณ์งานนั้น ไม่ได้อยู่แค่ที่การเตรียมความรู้เท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงทักษะการนำเสนอ บุคลิกภาพ และ ความมั่นใจ

วันนี้ WorkVenture จึงรวบรวม 12 เทคนิคเด็ดที่จะช่วยให้คุณสร้างความประทับใจ รวมถึงแสดงศักยภาพของคุณออกมา พร้อมเพิ่มโอกาสในการคว้าตำแหน่งงานที่คุณต้องการด้วย 12 เทคนิคเหล่านี้!

 

1. ศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด

  • รู้จักบริษัท: ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท วัฒนธรรมองค์กร และผลิตภัณฑ์หรือบริการ แสดงให้เห็นถึงความสนใจของคุณ และเตรียมพร้อมที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับบริษัท
  • เข้าใจความท้าทายของงาน: วิเคราะห์รายละเอียดงาน และคาดการณ์ความท้าทายที่คุณอาจต้องเผชิญ แสดงให้เห็นว่าคุณพร้อมรับมือกับปัญหา และมีแนวทางแก้ไข
  • เตรียมตัวตอบคำถาม: ฝึกฝนคำตอบคำถามทั่วไปในการสัมภาษณ์ เช่น "จุดแข็งของคุณคืออะไร" "จุดอ่อนของคุณคืออะไร" "ทำไมคุณถึงอยากทำงานกับเรา"

 

2. เทคนิค STAR

  • Situation (สถานการณ์): เล่าสถานการณ์ที่คุณเคยเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ทำงาน หรือ ปัญหาที่เจอในการทำงาน โดยเลือกจากสถานการณ์ที่คิดว่าจะสามารถพลิกเป็นจุดขายให้กับคุณได้ รวมทั้งทำให้ผู้สัมภาษณ์ได้รู้จักคุณมากขึ้นด้วย
  • Task (ภารกิจ): เล่าหรือยกตัวอย่างถึงบทบาทของคุณในองค์กร ว่าคุณนั้นทำหน้าที่อะไร และบทบาทของคุณสำคัญต่อองค์กรอย่างไรบ้าง รวมไปถึงภารกิจ หรือโปรเจ็คต่างๆที่คุณทำด้วย
  • Action (การกระทำ): อธิบายวิธีที่คุณทำงาน หรือ แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งนี้เป็นโอกาสของคุณในการแสดงกระบวนความคิด และกลยุทธ์ต่างๆที่คุณนั้นใช้แก้ไขปัญหาเพื่อแสดงถึงศักยภาพของคุณเพื่อมัดใจผู้สัมภาษณ์
  • Result (ผลลัพธ์): ส่วนที่สำคัญที่สุดเลยก็คือผลลัพธ์ ผู้สัมภาษณ์ก็จะได้รู้ว่า การทำงานของเรามีผลสำเร็จออกมามากน้อยแค่ไหน ถือว่าเป็นช่วงที่ให้คุณบอกถึงความสำเร็จ ความภาคภูมิใจต่างๆ

 

3. เตรียมเรื่องราวเอาไว้ให้พร้อม

  • เรื่องราวที่น่าสนใจ: เตรียมเรื่องราวที่แสดงทักษะ ประสบการณ์ และความสำเร็จของคุณ
  • ความยาวที่เหมาะสม: กำหนดเวลาให้แต่ละเรื่องราวอยู่ระหว่าง 30 วินาที ถึง 1 นาทีกำลังพอดี
  • อธิบายจุดแข็ง / อ่อน: ข้อนี้ถือว่าไม่ง่าย เพราะการเล่าถึงจุและ ไม่อายที่จะบอกจุดด้อยของตัวเอง แต่ก็ยังแสดงถึงการอยากเรียนรู้ และ พร้อมพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

 

4. สร้าง First Impression สร้างความประทับใจแรกพบ

  • บุคลิกภาพที่มั่นใจ: เข้าห้องสัมภาษณ์ด้วยความมั่นใจ ยิ้มแย้มแจ่มใส และพูดคุยอย่างเป็นธรรมชาติ
  • 5 นาทีแรก: เปรียบเสมือนโอกาสทองในการสร้างความประทับใจแรกพบให้กับผู้สัมภาษณ์ เป็นช่วงเวลาที่คุณต้องแสดงให้พวกเขาเห็นว่าคุณ เป็นใคร  มีความสามารถอะไร และ เหมาะสมกับตำแหน่งงานนี้หรือไม่
  • หาจุดร่วม: ค้นหาจุดร่วมกับผู้สัมภาษณ์ สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ไม่ตึงเครียดเกินไป

 

5. ซื่อสัตย์คือที่สุด! โกหก = พังแน่นอน!

  • การโกหก ในระหว่างการสัมภาษณ์งาน ไม่เคยมีผลดีตามมา ผู้สัมภาษณ์มีประสบการณ์สูงมักมองออกได้ไม่ยากว่าคุณกำลังพูดความจริงหรือไม่ ไม่งั้นจะได้งานที่เราอาจจะไม่ถนัดมาก็ได้
  • เปิดเผยประสบการณ์จริง แทนที่จะปิดบังความผิดพลาดในอดีต จงเปิดเผยมันอย่างตรงไปตรงมา แต่อย่าลืมแสดงให้เห็นว่าคุณได้เรียนรู้และเติบโตจากประสบการณ์เหล่านั้น
  • โฟกัสที่แง่บวก เน้นย้ำทักษะ ความสามารถ และศักยภาพของคุณ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีและน่าสนใจให้ผู้สัมภาษณ์เห็นข้อดีมากกว่าข้อด้อย

 

6. อย่ามองโลกในแง่ร้าย

ไม่วิพากษ์วิจารณ์นายจ้างหรือเพื่อนร่วมงานเก่าที่เคยผ่านมา เพราะมันอาจส่งผลต่อตัวคุณในการได้งานของคุณ

 

7. เน้นความสามารถของคุณ

  • ไม่ต้องกังวลว่าคุณจะไม่สมบูรณ์แบบ: องค์กรอาจไม่ได้มองหาคนที่สมบูรณ์แบบ แต่กำลังมองหาคนที่เหมาะสม แสดงให้เห็นว่าคุณเรียนรู้ได้เร็วแค่ไหน และกระตือรือที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มุ่งเน้นไปที่สิ่งที่คุณทำสำเร็จจริงๆ
  • ตัวอย่างที่แน่ชัด: อย่าแค่พูดว่าคุณเคยมีส่วนร่วมในโปรเจคอะไร แต่จงโฟกัสไปที่ผลงานที่คุณทำสำเร็จด้วยตัวเอง ยกตัวอย่างที่ชัดเจน วัดผลได้ และเกี่ยวข้องกับงานที่สมัคร
  • มุ่งเน้นที่คุณ มากกว่าทักษะ: แน่นอนว่าทักษะมีความสำคัญ แต่สิ่งที่นายจ้างมักจะให้คุณค่ามากกว่า คือ "ทัศนคติ" คุณมีทัศนคติที่ดี มุ่งมั่น และพร้อมที่จะทำงานหนักหรือไม่
  • ประสบการณ์ไม่ใช่สิ่งเดียวที่สำคัญ: นายจ้างหลายคนให้คุณค่ากับ "ทัศนคติ" มากกว่าประสบการณ์ แสดงให้เห็นว่าคุณมีทัศนคติที่ดี พร้อมที่จะเรียนรู้ และเติบโต
  • สรุปประวัติย่อ "ฉบับกระชับ": ไม่ใช่ทุกคนที่อ่านประวัติย่อของคุณอย่างละเอียด ดังนั้น ให้คุณช่วยพวกเขาโดยการพูดถึง "ประเด็นสำคัญ" จากประวัติย่ออีกครั้ง เน้นย้ำถึงผลงาน ทักษะ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานที่สมัคร

 

8. ไม่สั้นเกินไป และ ไม่ยาวเกินไป

การสัมภาษณ์งานเปรียบเสมือนเวทีที่คุณต้องนำเสนอตัวเอง ข้อมูล และทักษะของคุณให้กับผู้สัมภาษณ์อย่างมีประสิทธิภาพ กุญแจสำคัญคือการรักษาเวลา และคำตอบระหว่างการให้ข้อมูลที่เพียงพอ กับการหลีกเลี่ยงการพูดวกวนหรือพูดยาวจนเกินไป

 

9. อย่ากลัวที่จะใช้เวลาคิด

  • ใช้เวลาสักครู่เพื่อพิจารณาคำตอบ: ไม่เป็นไร หากคุณต้องการใช้เวลาสักครู่เพื่อคิดคำตอบสำหรับคำถามที่ยาก การหยุดคิดชั่วคราว แสดงให้เห็นว่าคุณเป็นคนรอบคอบ และใส่ใจในสิ่งที่คุณพูด
  • หยุดคิด ไม่ใช่เสียมารยาท: การหยุดคิดก่อนตอบ ไม่ใช่เรื่องเสียมารยาท แต่กลับแสดงให้เห็นว่าคุณกำลังคิดคำตอบที่รอบคอบและเหมาะสม
  • ตอบคำถามอย่างชาญฉลาด: การใช้เวลาคิดคำตอบ จะช่วยให้คุณตอบคำถามได้อย่างชาญฉลาด มีเหตุผล และน่าประทับใจ

 

10. เมื่อการสัมภาษณ์ดูเหมือนจะไม่ค่อยดี

  • อย่ามัวคิดมาก: หากการสัมภาษณ์ดูเหมือนจะไม่ราบรื่น หรือคุณรู้สึกว่าบทสนทนาชะงัก อย่ามัวคิดมากหรือกังวล ให้โฟกัสไปที่การตอบคำถามต่อไป ตั้งใจฟังคำถาม และตอบอย่างมั่นใจ
  • เช็คความเข้าใจกับผู้สัมภาษณ์: คุณสามารถเช็คความเข้าใจกับผู้สัมภาษณ์ได้อย่างสุภาพ เช่น "ผู้สัมภาษณ์ครับ/คะ ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ผม/ดิฉันตอบ ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการหรือไม่ครับ/คะ หรือมีอะไรที่ผม/ดิฉันสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ไหมครับ/คะ" การทำเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าคุณใส่ใจ และต้องการสื่อสารอย่างชัดเจน
  • โฟกัสที่ปัจจุบัน: อย่ามัวคิดถึงคำตอบที่ผ่านไปแล้ว ให้โฟกัสที่การตอบคำถามในปัจจุบัน และพยายามทำให้ดีที่สุด
  • จบการสัมภาษณ์อย่างมืออาชีพ: แม้ว่าการสัมภาษณ์อาจจะดูไม่ค่อยดี แต่คุณก็ควรจบการสัมภาษณ์อย่างมืออาชีพ เช่น กล่าวขอบคุณผู้สัมภาษณ์สำหรับเวลา และยืนยันความสนใจของคุณในตำแหน่งงาน

 

11.  อย่าถามคำถามมากจนเกินไป

  • เน้นคุณภาพ มากกว่าปริมาณ: การถามคำถามปลายบทสัมภาษณ์เป็นสิ่งที่ดี   แต่ไม่ควรถามคำถามมากจนเกินไป   เน้นที่การถามคำถามที่มีคุณภาพ   และแสดงให้เห็นความรอบคอบ
  • คำถามที่แสดงถึงความใส่ใจ: เลือกถามคำถามที่แสดงถึงความใส่ใจ   และความสนใจในองค์กร   เช่น  "บริษัทฯ มีเป้าหมายอะไรในอนาคต   และตำแหน่งนี้มีส่วนร่วมกับเป้าหมายนี้อย่างไรครับ/คะ"   หรือ  "ในช่วง 3 เดือนแรก   ผม/ดิฉันจะมีหน้าที่อะไรที่สำคัญบ้างครับ/คะ"
  • เน้นคุณค่าที่คุณนำเสนอ: คำถามของคุณควรแสดงให้เห็นว่าคุณกำลังคิดถึง   "คุณค่า"   ที่คุณสามารถนำเสนอให้กับองค์กร   เช่น  "ทักษะด้านใดที่จำเป็นสำหรับการประสบความสำเร็จในตำแหน่งนี้ครับ/คะ   และผม/ดิฉันสามารถนำทักษะอะไรมาช่วยเหลือทีมได้บ้างครับ/คะ"
  • หลีกเลี่ยงคำถามพื้นฐาน: หลีกเลี่ยงการถามคำถามพื้นฐานที่หาคำตอบได้จากเว็บไซต์ขององค์กร   หรือคำถามที่แสดงว่าคุณไม่ได้เตรียมตัวมา

 

12. สัมภาษณ์เสร็จแล้วแต่ยังไม่จบ!

  • อีเมล์ขอบคุณหลังสัมภาษณ์: อีเมล์ขอบคุณหลังการสัมภาษณ์ คือโอกาสสุดท้ายของคุณที่จะสร้างความประทับใจให้กับผู้สัมภาษณ์ และทำให้พวกเขาจำคุณได้
  • เน้นย้ำประเด็นสำคัญ: ในอีเมล์ คุณสามารถเน้นย้ำประเด็นสำคัญที่คุณพูดคุยกันในระหว่างการสัมภาษณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีประเด็นใดที่ยังไม่ชัดเจน หรือคุณต้องการอธิบายเพิ่มเติม
  • ตอบคำถามเพิ่มเติม: หากหลังจากการสัมภาษณ์ คุณนึกคำตอบที่ดีกว่าสำหรับคำถามที่ถูกถาม คุณสามารถตอบคำถามเพิ่มเติมได้ในอีเมล์ฉบับนี้
close
ลงทะเบียนกับ WorkVenture เพื่อค้นหางานใหม่ล่าสุดและอ่านรีวิวบริษัทจากผู้ทำงานจริง